Tuesday, November 10, 2009

Mor Kwan's Elephant Clinic: Soil & The Gusto Food for Elephant

Soil: The Gusto Food for Elephant
Soil is not necessary only for plants which are major food for elephants, the biggest land animal, but it’s also nutrient rich diet for the elephants in the wilderness. However, there are many questions occurring that why the elephants perform the behavior of soil consumption.
Soil called “salt lick” or “mineral lick” which occurs naturally is an important resource composing of abundant minerals and trace elements such as sodium, potassium, calcium, manganese, copper, and zinc. The elephants often visit salt lick that contains the mineral they need when the elephants do not get enough minerals from plants and water supplies, consequently utilization mineral lick relates to the mineral requirements and is essential for the mineral supplementation including preventing the mineral deficiency. Several factors, e.g., geography, ecology, and season, influence the difference of mineral ingredients and concentrations in each salt lick location. For instance, in tropical areas with high rainfall, some elements are easily leached away. The elephant responses to salt lick such as frequency of visitation, time spent licking per visit, and proportion of time spent licking, also vary with both internal and external factors. Female elephants reported in a case of pregnancy and lactation, which probably need more nutritional requirement than males, consumed more soil at salt lick and spent greater time feeding on soil than males. Moreover, some scientists attempted research into other reasons why the elephants visit salt lick and found various soil benefits to aid digestion , for example, buffering gastrointestinal fluids, avoiding diarrhea, and providing protection against toxic plant secondary compounds, including being social gathering place for the elephants and other wildlife.
A case of Pang Thongbai and Pang Boonmeenan, the elephants in reintroduction program, is the foundation case study interested regarding salt lick. They have visited salt lick in the same place for the period between September and October for three years, also nobody know what their reason. Therefore, it is challenge to investigate for explanation this doubt.
ดิน : อาหารอันโอชาสำหรับช้าง "ดิน" มิได้มีความจำเป็นต่อพืชซึ่งเป็นอาหารหลักสำหรับอาหารช้างเท่านั้น แต่ดินยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญสำหรับช้างอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมักมีคำถามเกิดขึ้นว่า เหตุใดช้างจึงแสดงพฤติกรรมการบริโภคหรือกินดินเหล่านี้
ดินที่พูดถึงข้างต้นนี้เรียกว่า "ดินโป่ง" ซึ่งคือดินตามธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆมากมาย อาทิเช่น โซเดียม โปรแตสเซียม แคลเซียม แมนกานีส ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น ช้างจะกินดินโป่งเมื่อรู้สึกว่า ตัวเองได้รับแร่ธาตุต่างๆไม่เพียงพอจากพืชและน้ำที่ช้างกินอยู่ตามปกติ ด้วยเหตุนี้การใช้ประโยชน์จากดินโป่งของช้างจึงขึ้นอยู่กับความต้องการสารอาหารหรือแร่ธาตุของร่างกายช้างในขณะนั้น ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญในการเติมเต็มแร่ธาตุที่ต้องการ หรือป้องกันภาวะการขาดแคลนแร่ธาตุสำหรับช้าง
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ดินโป่งในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ระบบนิเวศวิทยา และช่วงฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ในเขตร้อนชื้นและมีฝนตกชุกมีโอกาสที่แร่ธาตุต่างๆในดินถูกพัดพาหรือชะล้างออกไปได้ง่าย นอกจากนี้การตอบสนองต่อดินโป่งของช้างแต่ละตัว เช่น ความถี่ในการกินดินโป่ง ปริมาณและระยะเวลาในการกินดินโป่งแต่ละครั้ง ก็มีความแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวช้าง จากการวิจัยพบว่า ช้างตัวเมียที่ตั้งท้องหรือมีการให้น้ำนมมีความต้องการแร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆมากกว่าช้างตัวผู้ จึงส่งผลให้ปริมาณและระยะเวลาในการกินดินโป่งช้างตัวเมียสูงกว่าช้างตัวผู้ อย่างไรตามมีการวิจัยอื่นๆที่พบว่า ดินโป่งนั้นยังมีประโยชน์มากมายต่อระบบการย่อยของช้าง เช่น การช่วยลดกรดในกระเพาะ ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย หรือช่วยลดสารพิษบางอย่างที่มีอยู่ในพืชบางชนิด เป็นต้น รวมถึงโป่งดินยังเป็นแหล่งพบปะชุมนุมของช้างและสัตว์ป่าอื่นอีกด้วย
จากการดำเนินงานของมูลนิธิฯ พบกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เพราะเหตุใด ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ของทุกปี ช้างเพศเมีย 2 ตัว (พังทองใบ และพังบุญมีน่าน) ซึ่งเป็นช้างในโครงการคืนช้างสู่ป่า ที่มูลนิธิฯ ดูแลอยู่ จึงมักออกนอกพื้นที่เพื่อไปกินดินโป่ง ณ จุดเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสงสัยนี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย จำเป็นต้องเฝ้าติดตามและค้นหาคำตอบที่ชวนสงสัยนี้ให้ได้ต่อไป

No comments: