Sunday, January 30, 2011

Train to work with elephants at Lampang

On January 30, 2011 trainees were trained in the fieldwork at Doi Phamaung forest. ในวันที่ 30 มกราคม 2554 มีการจัดอบรมในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง บริเวณศาลาเอนกประสงค์ของมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นการศึกษาจากสถานที่จริงเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลพฤติกรรมช้าง
Train to collect elephant's behavior information in the fieldwork. การเก็บข้อมูลพฤติกรรมช้างของเจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิฯ และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง
Every trainees receive a certificate. พิธีปิด และการมอบประกาศนียบัตรให้ผู้เข้าร่วมอบรมที่ผ่านหลักสูตรทุกคน
A group picture at Sra(pond) 1. ถ่ายภาพหมู่ของผู้เข้าร่วมอบรมทุกคน บริเวณสระ 1

Saturday, January 29, 2011

The Foundation hosts New Year Party to our field staff and our veterinarians at Camp1, Doi Phamaung Wildlife Sanctuary, Lampang. และในวันเดียวกันทางมูลนิธิฯ ได้จัดงานเลี้ยงปีใหม่ให้กับเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ และมีการมอบของที่ระลึกสำหรับไว้ใช้งานภายในแคมป์แต่ละแคมป์
Elephant Reintroduction Foundation has arranged "Elephant Training Course For Reintroduction" to train about Biology, life cycle of elephants and their disease, elephant behavior and collecting data to our field staffs and Doi Phamaung's at National Elephant Institute, Lampang.
ในวันที่ 29 มกราคม 2554 ทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติจังหวัดลำปาง ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ช้าง" สำหรับการคืนช้างสู่ธรรมชาติ แก่เจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ และเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง-ลำพูน จำนวน 50 คน ณ ห้องประชุมสถาบันคชบาลแห่งชาติ โดยในพิธีเปิดได้รับเกียรติจากทางคุณวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคบาลแห่งชาติ และคุณผจญ จอมทัน ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพืนที่อนุรักษ์ที่ 13 สาขาลำปาง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม จากนั้นเป็นการบรรยายของนายสัตวแพทย์ ดังนี้ 1. น.สพ. เฉลิมชาติ สมเกิด บรรยายเกี่ยวกับระบบชีววิทยาของช้าง 2. ผศ. น.สพ. ดร. ฉัตรโชติ ทิตาราม บรรยายเกี่ยวกับวงชีวิตของช้าง โรคและอาการบาดเจ็บ 3. น.สพ. ทวีโภค อังควานิช บรรยายเกี่ยวกับพฤติกรรมช้าง-การเก็บข้อมูล
Main Creek at Sublangka Forest , Lamsonthi Creek become lower . สภาพลำสนธิลำน้ำหลักในผืนป่าซับลังกาที่แห้งลงเป็นอย่างมาก
The Foundation at Sublangka Branch has hired a tractor to construct local road between Sublangka boundary and Pangkaja(Substation) for convenience to track elephant. เนื่องจากเส้นทางที่ใช้ในการติดตามพฤติกรรมช้างใช้การได้ลำบาก(ทางด้านทิศเหนือจากแนวเขตฯซับลังกาไปถึงปางกะจา) มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติจึงได้ใช้รถแทรกเตอร์(รถไถนา)และเจ้าหน้าที่ภาคสนามช่วยกันซ่อมบำรุงเส้นทางให้ใช้การได้สะดวกในการติดตามพฤติกรรมช้าง

Thursday, January 27, 2011

Students from Rung Arun School, students from Chulalongkorn University and students from Worcester Polyecnic Institute, USA visit Sublangka Wildlife Sanctuary to interview our coordinator about our working to make a report at Sublangka Branch, Lopburi. นักเรียนจากโรงเรียนรุ่งอรุณ นิสิตจากคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษาจาก Worcester Polytechnic Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา สอบถามข้อมูลการทำงานของมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ เพื่อนำไปทำโครงงานเรื่อง "การพัฒนาคุณภาพชีวิตของช้าง" ตามหลักสูตรวิชาสังคมและมนุษย์ศึกษาของทางโรงเรียน

Wednesday, January 26, 2011

Python in Sublangka

An Indian Python was found in Sublangka Wildlife Sanctuary. พบงูหลามในพื้นที่ป่าซับลังกา : งูหลามขวางทาง แล้วเราจะไปทำงานได้อย่างไรนะ

Eld's deer

Our field staff founds an eld's deer in Sublangka Wildlife Sanctuary. ภาพละองในธรรมชาติป่าซับลังกา : จากการติดตามพฤติกรรมช้างพบละองในธรรมชาติ ดูสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดีในป่าซับลังกา
Khun Woralak Rangsriwong and the party from The Erawan Group visit Sublangka Wildlife Sanctuary to observe trees that their planted in the forest on September 2010. คุณวรลักษณ์ รังษีวงศ์ และคณะจาก The Erawan Group เข้าติดตามความเจริญเติบโตของพืชอาหารช้างที่ปลูกไว้เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๓
Pang Mae Boonkeaw, Pang Pornchita and Plai Suthin are playing mud with happiness in Lamsonthi Creek. พังแม่บุญแก้ว พังพรชิตาและพลายสุทินลงเล่นโคลนคลายร้อนในลำสนธิ
Plai Chumpol is playing mud in Sublangka Forest. พลายชุมพลเล่นโคลนคลายร้อนในป่าซับลังกา

Mud Bath

2 female elephants (Pang Dokrak and Pang Valentine) enjoy playing mud to coat their skin at Mae Pon Creek Area. พังดอกรักและพังวาเลนไทน์ ลงมาเล่นโคลนอยู่บริเวณลำห้วยแม่ป๋อน
Our field staffs at Lampang Camp found Pang Leelas (an female elephant) at Huitom Creek area, she is healthy. เจ้าหน้าที่พบพังลีลาศ ขณะเข้าป่าติดตามช้าง บริเวณลำห้วยตม พังลีลาศมีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์

Healthy Elephant

Our young bull elephant (Seedor Sombat) gains weight, he is getting older in Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. สีดอสมบัติเริ่มโตเป็นหนุ่ม มีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้น

Hardworking

Our field staffs (Lampang Camp) are restoring camp1's roof. และได้ปรับปรุงซ่อมแซมหลังคาบ้านพักเจ้าหน้าที่ภาคสนามแคมป์ 1 เพื่อให้สามารถใช้งานได้
Our field staffs (Lampang Camp) are making concrete floor at our hospital, provided that it is easy to wash up. เจ้าหน้าที่ได้ทำพื้นโรงพยาบาลช้างใหม่ เพื่อง่ายแก่การทำความสะอาดโรงพยาบาลช้าง

Monday, January 24, 2011

An Abscess at Pang Duh's Neck

Mor Phettisak Sombatphutorn, who treats Pang Duh's wound found an abscess at her neck. He decides to operate the abscess on January 21, 2011. Our field staff have to clean Pang Duh's wound everyday. จากการสอบถามอาการของพังดุจาก น.สพ. เพชรธิศักดิ์ สมบัติภูธร ว่าพังดุมีฝีขึ้นอยู่บริเวณต้นคอบนขวา ในวันที่ 20 มกราคม 2554 ขณะที่ทำความสะอาดแผลให้กับพังดุพบว่ามีน้ำซึมอยู่บริเวณฝี จนในวันที่ 21 มกราคม 2554 จึงได้ทำการผ่าเอาฝีบริเวณต้นคอออก และต้องทำความสะอาดแผลทุกวัน
Phettisak Sombatphutorn, Veterinarian of Elephant Hospital. น.สพ. เพชรธิศักดิ์ สมบัติภูธร นายสัตวแพทย์โรงพยาบาลช้างที่ทำการผ่าฝีของพังดุ

Field Staff's Working

Our field staff are building storeroom at Camp1 Lampang. หลังจากที่ซ่อมแซมหลังคาโรงพยาบาลเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ภาคสนามช่วยกันสร้างห้องเก็บของและพื้นโรงพยาบาลใหม่
Tim Kelly, San Francisco Film Center , Titiporn Keratimanochaya, DVM., Anantara Golden Triangle Resort and spa and Carol Stevenson, Photographer, visit Elephant Reintroduction Foundation to interview Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary-General of The Foundation at Elephant Reintroduction Foundation, Bangkok Branch office.

Wednesday, January 19, 2011

Growth

Plai Phalang joins with other elephant. พลายพลังเข้าไปรวมกล่มกับช้างในป่า โดยใช้ชีวิตอย่างอิสระ
His tusk is sharper. ปลายงาของพลายพลังเริ่มมีลักษณะแหลม
Comparison of Plai Phalang's tusk growth from 2008 to present day. ภาพพัฒนาการของงาพลายพลัง ตั้งแต่รับพลายพลังเข้าโครงการ เมื่อปี 2551 จนในปี 2553 ทางมูลนิธิฯ ได้ปล่อยให้พลายพลังใช้ชีวิตตามธรรมชาติในป่า โดยพลายพลังใช้งาของตัวเองในการแทะเปลือกไม้ ขุดดิน จนทำให้งาของพลายพลังมีลักษณะโค้งมน จนในช่วงต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปติดตามช้างในป่าพบพลายพลังมีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ อีกทั้งพบว่างาของพลายพลังมีลักษณะแหลมคม ซึ่งเกิดจากการที่ช้างได้ลับงาของตัวเองจนแหลมเพื่อนำไปแทงเปลือกไม้กิน แทงดิน และเพื่อเป็นอาวุธป้องกันตัว
Posted by Picasa

Herbal

An ingredient of herbal medicine: 1. Mikania cordata Rob. Use: Leaves 2. Zingiber montanum (Koenig) use: tubers 3.Thunbergia laurifolia Linn. Use: Leaves and root 4. Mimosa pudica L. Use: the whole plant 5. Turmeric, Curcuma longa Linn. Use: tubers 6. Castor Oil Plant, Ricinus communis Use: roots Direction: 1.Boil all ingredient together. 2. Making a mop-like and soak cloth into the solution then beat at elephant's swollen symptom . สมุนไพรที่ใช้ทำยาฟาด ประกอบด้วย 1 หญ้าปกตอ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mikania cordata Rob. ส่วนที่ใช้ ใบ สรรพคุณ ตำพอกแผล รักษาอาการบวม รักษาโรคหิด 2. ไพล ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dietr. ส่วนที่ใช้ เหง้าแก่จัด เก็บหลังจากต้นไพลลงหัวแล้ว สรรพคุณ น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย 3. รางจืด ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunbergia laurifolia Linn. ส่วนที่ใช้ ใบ ราก และเถาสด สรรพคุณ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ 4. ไมยราบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Mimosa pudica L. ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น สรรพคุณ แก้ไข้ ตาบวมเจ็บ แผลฝี ผื่นคันและออกหัด รากรสขมเล็กน้อย ฝาด สุขุม แก้ไอ ขับเสมหะ ปวดข้อ 5. ขมิ้นชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn. Zingiberaceae ส่วนที่ใช้ เหง้า สรรพคุณ รักษาฝี แผลพุพอง ใช้ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย มีฤทธิ์ลดการอักเสบ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย 6. ละหุ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ricinus communis ส่วนที่ใช้ ราก สรรพคุณ แก้พิษไข้เซื่องซึม และเป็นยาสมานด้วย โดยนำสมุนไพรดังกล่าวมาต้มพร้อมกัน ใช้ผ้าคล้ายไม้ถูพื้นจุ่มลงในน้ำร้อน มาฟาดบริเวณที่ช้างมีอาการบวม ซึ่งวิธีการนี้ใช้แพร่หลายทางภาคเหนือ
Mr. Winai Kamdee, our field staff hits Pang Duh at her leg by herb to relieve her swollen leg symptom as Mor Tom has given an advice. นายวินัย คำดี ทำการฟาดยาให้กับพังดุเพื่อคลายอาการบวมที่ขาของพังดุ ตามที่นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังวานิชแนะนำ
Posted by Picasa

Pang Duh Gets Better

Veterinarians from Elephant's hospital, National Elephant Institute clean Pang Duh's wound everyday. สัตวแพทย์โรงพยาบาลช้างดูแลทำความสะอาดแผล ให้กับพังดุทุกวันจนพังดุมีอาการดีขึ้นตามลำดับ
Pang Jintara comes down to drink some water in Mae Yao Creek, Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. พังจินตหรา ลงมากินน้ำในลำห้วยแม่ยาว
After The Foundation has released Pang Kanya to group with Pang Sunee, Pang Dokrak and Pang Valentine in the forest. Our field staff s found Pang Kanya looked fat. พังกันยา ที่รวมกลุ่มกับพังสุนีย์ พังดอกรัก และพังวาเลนไทน์ หลังจากที่ปล่อยหากินตามธรรมชาติ มีร่ายกายอ้วนท้วนขึ้นมาก
Pang Dongdao and Pang Tukta have to rehabilitate near camp at Maeyao Reservoir for facilitating to veterinarians when they come to collect Pang Tukta's blood sample to check hormone. ส่วนพังดวงดาว และพังตุ๊กตา ต้องปรับพฤติกรรมอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ยาวเพื่อความสะดวกในการเก็บตัวอย่างเลือดของพังตุ๊กตานำมาตรวจฮอร์โมนการตั้งตกรอบตั้งท้อง
Formerly our 4 elephants (Pang Namchock, Pang Dongdao, Pang Jintara and Pang Tukta) were released in Doi Phamaung Forest but Pang Jintrara and Pang Namchock often to go out off the forest. Our field staffs have to bring them back and rehabilitate by chaining them but they can walk freely. When they were limited area to live so they look thin. Therefor our field staffs decided to release 2 elephants to the wild as before. เดิมพังจินตหรา พังนำโชค พังดวงดาว และพังตุ๊กตา ถูกปล่อยให้หากินในป่าตามธรรมชาติ แต่พังจินตราและพังนำโชคชอบออกนอกพื้นที่ จึงนำกลับมาปรับพฤติกรรมใหม่ด้วยการติดโซ่ เมื่อถูกจำกัดพื้นที่ พังจินตหราและพังนำโชคจึงผอมลง เจ้าหน้าที่จึงตัดสินใจนำพังนำโชค และพังจินตหราปล่อยกลับป่าลึกตามเดิม

Tuesday, January 18, 2011

Mahanakorn University of Technology


Khun Pornpan Pookaiyaudom, Vice Chancellor of Mahanakorn University of Technology and the party visit Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary-General of The Foundation at Elephant Reintroduction Foundation, Bangkok Branch office. อาจารย์พรพรรณ โภไคยอุดม รองอธิการบดี และคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เข้าพบคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ สำนักงานกรุงเทพ

Monday, January 17, 2011

อาลัยพังบัวทอง Pang Buathong

Pang Buathong : 52-years-old Sex : female Original owner : Mr. Kamin Jaikanha, address: 64/1 Moo 1, Hangchart Lampang.
On February 10, 2000 Pang Buathong received the Royal compassion from Her Majesty Queen Sirikit to bring her joined Elephant Reintroduction program (WWF) with 8 elephants (Seedor Yali, Pang Boonma, Pang Kammoonyai, Pang Chumpli, Pang Thongbai, Pang Boonmee, Pang Kongma and Pang Buangern) to release in Doi Phamaung Wildlife Sanctuary, Lampang. After that, Pang Buathong and Pang Buangern moved to Kang Kra Chan national Park, Phetchburi Province to be adoptive mother for Pang Durian (a wild orphan elephant). Thereafter, Pang Durian joined with a herd of wild elephants so we decided to bring Pang Buangern and Pang Buathong back to Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. According to the Royal initiative of H.M. Queen Sirikit on December 9, 2006, Elephant Reintroduction Foundation brought Pang Buangern and Pang Buathong to release at Phupan National Park to be friends with Pang Bua Keaw (the last wild elephant in Phupan Forest) in the project of "Pretest releasing elephant", three elephants live well together. Until November 2010, our field staffs noticed something unusual about Pang Buathong, she was skinny and she always live in banana wood. Our field staffs reported to Mor Taweepoke Angkawanich (Mor Tom) our consulting veterinarian, he found Pang Buathong's teeth almost gone thus her dung was rough therefor she got little of nutrient. Pang Buathong had been sick for 2 months under supervision of our field staffs and veterinarians. At 04.00-05.00, on January 15, 2011 Pang Buathong passed away at Nampong Creek area, Keang Moddeang Station, Phupan National Park. She had lived in the wild for 11 years.
พังบัวทอง อายุ 52 ปี เจ้าของ เดิมชื่อ นายกมินทร์ ใจกันทา บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้เข้าสู่โครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทยภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสัตว์ป่าสากลโลก(WWF International)

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 พังบัวทองได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงรับเข้าร่วมโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ พร้อมด้วยช้างอีก 8 เชือก คือ สีดอยะลี พังบุญมา พังคำมูลใหญ่ พังชุมพี พังทองใบ พังบุญมี พังกองมาและพังบัวเงิน เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งหลังจากที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแล้วนั้นพังบัวทองได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่าดอยผาเมืองร่วมกับพังบัวเงิน (ช้างที่ทรงปล่อยในปีเดียวกัน) และพังทุเรียน(ลูกช้างป่า) และต่อมาได้มีการย้ายพังบัวทองไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วยพังบัวเงินและพังทุเรียนลูกช้างป่าที่พังบัวทองเป็นแม่รับให้ แต่อยู่ในพื้นที่ป่าแก่งกระจานได้ไม่นานพังทุเรียนได้เข้าไปรวมโขลงกับช้างป่าทิ้งให้พังบัวทองและพังบัวเงินอยู่กันเพียงสองตัว จนกระทั่งมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้รับสานงานต่อจากโครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทย ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสัตว์ป่าสากลโลก(WWF International) เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการอนุรักษ์ช้างไทย จึงได้นำพังบัวทองและพังบัวเงินกลับมาที่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง และในวันที่ 9 ธันวาคม 2549 มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการนำพังบัวทองและพังบัวเงินปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อเข้าไปเป็นเพื่อนกับช้างป่าที่เหลือเป็นตัวสุดท้ายในป่าภูพาน ซึ่งหลังจากนำพังบัวทองไปปล่อยในป่าภูพานก็สามารถปรับพฤติกรรมอยู่ร่วมกับช้างป่าได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2553 เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติประจำจังหวัดสกลนคร พบอาการผิดปกติของพังบัวทองคือร่างกายซูบผอมลงและชอบเข้าไปอยู่ในสวนกล้วยของชาวบ้าน จึงได้รายงานให้สัตวแพทย์ทราบ
นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช สัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ จึงได้เข้าดูแลสุขภาพของพังบัวทอง จากการสังเกตพบว่า พังบัวทองอายุมากแล้วฟันของพังบัวทองน่าจะเป็นชุดสุดท้ายและหลุดหายไปอยู่ไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะเป็นจึงทำให้การบดเขี้ยวอาหารเป็นไปได้น้อยมาก สังเกตจากลักษณะของมูลที่ออกมามีความหยาบเป็นอย่างมากมองดูแล้วแทบจะไม่มีการบดเขี้ยวเลย จึงทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยจึงซูบผอมลง
นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช จึงได้ให้การดูแลโดยมีการฉีดยาบำรุงร่างกายและให้พังบัวทองกินอาหารอ่อนเป็นอาหารเสริม เช่น กล้วยน้ำหว้าสุก ต้นกล้วย มะขามเปียก ข้าวเหนียวนึ่ง พร้อมด้วยยาเม็ดวิตามินรวมเพื่อให้ร่างกายพังบัวทองแข็งแรงขึ้นและให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดูแลอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 04.00-05.00 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2554 พังบัวทองได้ล้มลงอย่างสงบบริเวณลำน้ำพุง หน่วยพิทักษ์ป่าแก้งมดแดง อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร และทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับอุทยานแห่งชาติภูพานได้ทำการฝังซากของพังบัวทองและประกอบพิธีการทางศาสนาให้กับพังบัวทอง
คงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ในเมื่อพังบัวทองอยู่ร่วมกับพวกเรามานานถึง 10 ปี เธอได้ใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่อยู่ท่ามกลางป่าธรรมชาติ ไม่มีมนุษย์คนไหนมาบังคับให้เธอทำงานตามความพอใจของมนุษย์อีกต่อไป ทำให้ชีวิตที่ต้องทุกข์ทรมานกลับมาสดใสอีกครั้งแต่แล้ววันนี้เธอหมดลมหายใจลงอย่างสงบท่ามกลางธรรมชาติในป่าภูพาน ป่าธรรมชาติที่สุดท้ายที่เธอได้ใช้ชีวิตภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ท่านได้ทรงรับพังบัวทองเข้าร่วมโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติให้พังบัวทองมีชีวิตที่สุข สดใส อีกครั้งในช่วงสุดท้ายของชีวิต
Our field staffs at Lampang Camp found a fat female elephant (Pang Kammoonyai) at Huibong Creek area, Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. เจ้าหน้าที่ภาคสนามลำปาง ติดตามช้างในป่าพบพังคำมูลใหญ่บริเวณลำห้วยปง แม่เกี๋ยง ในป่าดอยผาเมือง พังคำมูลใหญ่มีสุขภาพอ้วนท้วนสมบูรณ์

Restoring Our Elephant's Hospital

โรงพยาบาลช้าง ของมูลนิธิฯ แคมป์ 1 มีสภาพชำรุดทรุดโทรม
Our field staffs are restoring elephant's hospital, Camp1,Lampamg. ทางมูลนิธิฯ จึงดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมใหม่ โดยเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ

Sunday, January 16, 2011

New Year Celebration at Sublangka

Elephant Reintroduction Foundation sponsors New Year party at Sublangka Wildlife Sanctuary, Lopburi. บรรยากาศกิจกรรมปีใหม่ที่ซับลังกา

Saturday, January 15, 2011

Making Merit to Pang Buathong

The Foundation and Phupan National Park are making a merit to Pang Buathong before the veterinarians are conducting a post-mortem to identify the cause of death. Cause of Death : Pang Buathong 's teeth are gone, she can not eat and therefor starve to death.
เพื่อให้พังบัวทองล้มอย่างสงบ ทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับอุทยานแห่งชาติภูพานได้จัดพิธีทางศาสนาให้กับพังบัวทอง ก่อนที่จะมีการผ่าซากตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของสัตวแพทย์ ผลการผ่าซาก : ช้างเสียชีวิตเวลาประมาณ 4.00 – 5.00 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2554 เวลาผ่าซาก 08.30 – 17.30 น. กำจัดซากซากด้วยวิธีฝังกลบในผืนดิน ลึกประมาณ 1.50 เมตร เวลา 17.30 – 18.30 น. สภาพช้าง นอนตะแคงขวา และค่อนข้างผอม ตรวจพบการสึกหรอของฟันกรามด้านบน ทั้งสองข้าง (ด้านซ้ายพบ 8 ซี่ ด้านขวา 9 ซี่) ส่วนฟันล่างพบว่าหลุดออกไปแล้ว โดยด้านซ้ายพบเศษหนองติดอยู่ และพบเศษอาหาร(ใบไม้) บริเวณฟันล่างด้านขวา ,ม้ามซีดกว่าปกติ แสดงถึงภาวะขาดเลือด , เลือดจาง และพบการเสื่อมของหัวกระดูกสะโพกซ้าย ส่วนอวัยวะอื่นๆ ค่อนข้างปกติตามสภาพของช้างชรา ค่าโลหิตวิทยา พบว่าช้างขาดสารอาหาร ทำให้ต้องดึงสารอาหารจากกล้ามเนื้อ( ketosis ) เพราะไม่สามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ (CK = 12,210 u/l , ketone = 7.5 mg/dl) สรุปสาเหตุการเสียชีวิต ช้างไม่สมบูรณ์ เนื่องจากบดเคี้ยวอาหารไม่ได้จึงมีสภาพทรุดโทรม ไม่สามารถทนต่อสภาวะเปลี่ยนแปลงของอากาศได้และเสียชีวิตในที่สุด