Monday, March 31, 2008

หัวข้อข่าวจากสำนักข่าวไทย : กฟผ.เตรียมก่อสร้างรั้วไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เป็นแนวป้องกันช้าง



การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เตรียมก่อสร้างรั้วไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) เป็นแนวป้องกันช้างออกไปรบกวนและทำลายพืชไร่ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี คาดแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายนนี้ นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) กล่าวว่า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ทำโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี ด้วยการร่วมปล่อยช้างคืนป่าธรรมชาติ 3 เชือก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ รวมทั้งเตรียมก่อสร้างรั้วไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(โซลาเซลล์) กำลังไฟฟ้า 6,500 กิโลวัตต์ เป็นแนวป้องกันช้างออกไปรบกวนและทำลายพืชไร่ของประชาชนโดยรอบพื้นที่ ซึ่งไม่กระทบสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นอัตรายกับช้างและประชาชน โดยจะเริ่มก่อสร้างรั้วไฟฟ้าในเดือนพฤษภาคม คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เดือนพฤศจิกายน

Bangkok Post: CONSERVATION-Electric fence to be built at wildlife park

Electric fence to be built at wildlife park

APINYA WIPATAYOTIN

A solar-powered electric fence will be built around part of the Sap Langka Wildlife Sanctuary in Lop Buri province in an effort to keep wild animals, including elephants, out of nearby farmland.

It is the first time this strategy has been tried at a wildlife park in Thailand.

The 11-kilometre fence is part of the Electricity Generating Authority of Thailand's (Egat) Return Elephants to the Forest campaign to mark the 80th birthday of His Majesty the King.

The fence will carry a current of 6,500 volts, enough to give wildlife a shock and warn them off but not enough to pose any danger to them, an Egat statement said.

The nine-million-baht project is expected to be operational by October.

''We use solar cells as the main power source as it is energy saving, environmentally friendly power with no air or noise pollution. It is expected the system will have an operating life of over 20 years,'' the statement said.

''There is also a back-up system to generate electric current all day long.''

Sap Langka was picked because the space between two mountains was suitable for the fence's construction.

The 98,000-rai sanctuary is no longer home to wild elephants, but Egat said it planned to release some back into the wild in Sap Langka and other national parks later this year.

Wildlife Conservation Office chief Samart Sumanochitraporn welcomed the project, saying it would help bring harmony to relations between wild animals and villagers.

Sap Langka wildlife park was once home to all manner of animals including brow-antlered deer, hog deer and elephants.

About 30 years ago much of the area was converted into farmland by local people, causing a sharp fall in the wildlife population.

Some animals, such as elephants, disappeared from the area altogether.

The government later declared the area a wildlife sanctuary

Sunday, March 30, 2008

Our field staff has observed Pang Deejai, they found Pang Deejai was surveying around and Seedor Phatorn walked along with her.
หลังจากที่พวกเราได้ปล่อยพังดีใจได้สักพัก เจ้าหน้าที่ภาคสนามได้สังเกตพฤติกรรมของช้างที่ปล่อยในรั้วไฟฟ้า ซึ่งก่อนหน้านี้หลังจากที่พังเอื้องหลวงได้ตามสีดอภาธร จนเกิดความสนิทคุ้นเคยกันแล้ว แต่พอมีพังดีใจเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ในรั้วไฟฟ้า สีดอภาธรกลับเป็นฝ่ายเดินตามพังดีใจแทน จากในภาพ ในวันแรกที่พังดีใจได้เขาไปอยู่ในบริเวณรั้วไฟฟ้า พังดีใจได้เดินสำรวจสถานที่แห่งใหม่โดยมีสีดอภาธรเดินตาม
After we expanded the electric fenc area to be more space for elepahnts, we bring Pang Deejai lives with other too. By Seedor Phatorn stays away to welcome her . หลังจากที่ทางมูลนิธิฯ ได้ทำการขยายแนวรั้วไฟฟ้าใหม่ให้มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม เราก็ได้นำพังดีใจเข้าไปปล่อยไว้ในพื้นที่รั้วไฟฟ้า โดยมีสีดอภาธร ยืนต้อนรับอยู่ห่างๆ
While our field staff were tracking elephant they found the group of Pang Sunee, Plai Mitri and Pang Kwan at Mae Yao Creek. When our elephant saw field staffs they suddenly made a group to protect plai Mitri instinctively by let Plai Mitri stay between them.
ระหว่างการเดินทางติดตามช้างที่ปรับพฤติกรรมที่นำไปปล่อยในป่า เจ้าหน้าที่ภาคสนามลำปางได้พบกับ พังสุนีย์ พลายไมตรี และพังขวัญ บริเวณลำห้วยแม่ยาว เมื่อช้างทั้งสามเห็นเจ้าหน้าที่ก็รีบวิ่งมารวมตัวกันโดยจะมีพังสุนีย และพังขวัญ ประกบพลายไมตรีทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันอันตรายแก่ลูกช้าง
In the tracking task our field staff met the trial of eating salt lick of our elephant in Doi Pha Maung wildlife Sanctuary, Lampang. ในการออกติดตามช้างในป่า เจ้าหน้าที่ภาคสนามลำปางได้พบรอยการกินดินโป่ง ของช้างที่ปล่อยป่า ในบริเวณพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง
Mr. Keawma Tuiwong, our field staff found Pang Tumthong passed away in the morning of March 29, 2008. After that the Ajarn prays to the spirit of Pang Tumthong go to the heaven. Then Mor Pongpol vet from the Elephant's Hospital, Lampang and 3 students from Faculty of veterinary , Chaing Mai University undertake the postmortem examination to investigation the cause of dead.
พังตุ้มทองได้เสียชีวิตลงในเช้าของวันที่ 29 มีนาคม 2551 โดยมีนายแก้วมา ตุ้ยวงศ์ เจ้าหน้าที่ภาคสนามลำปาง เป็นผู้ไปพบ หลังจากนั้นทางมูลนิธิฯ ได้ทำพิธีปัดไพล เพื่อนำวิญญาณของช้างไปสู่สุคติ ต่อจากนั้นทางนายสัตวแพทย์ปองพล หอมคง นายสัตวแพทย์จากโรงพยาบาลช้าง ได้พาคณะนักศึกษาแพทย์จากคณะสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 3 คน คือ นางสาวสุรีรัตน์ โล้นิรุต นายสุรญา ณ ระนอง นางสาวปิยฉัตร ช่อเฟื่อง และมีคณะเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง จำนวน 5 คน นำโดย นายเสนาะ วิริยาลัย, นายยุทธนา มอยปัญญา, นายจันทร์ ใจนาแก้ว, นายทิพย์ ใจ, และนายคำแสน หลวงนา ได้ช่วยกันผ่าชันสูตรซากของพังตุ้มทอง ซึ่งเป็นที่น่าเสียใจของเราทุกคนในมูลนิธิฯ

Saturday, March 29, 2008

Pang Thongkam : a beautiful elephant in Sublangka forest . พังทองคำ สาวสวยในป่าซับลังกาที่มองอย่างไรก็น่ารัก
Plai Sila : an elephant in Sublangka Forest. พลายศิลา
Our elephant : Plai Srisakorn lives alone in Sublangka Forest. พลายศรีสาคร ช้างหนุ่มที่ไม่ไว้วางใจใครเลยอยู่ซับลังกาอย่างมีความสุข
Plai Somchai naughty boy in Sublangka Forest. พลายสมชาย หนุ่มน้อยผู้ซุกซนในป่าซับลังกา นาน ๆ จะถ่ายรูปได้
Pictures of animals were taken by Bushnell Camera at the Sublangka Wildlife Sanctuary. กล้อง Bushnell ถ่ายภาพสัตว์ในป่าซับลังกา

Thursday, March 20, 2008

On the hot summer day, Pang Tumthong enjoys the mud at Mae Yaow Reservoir after that she walks around the edge of reservoir. Our field staff notice that Pang Tumthong is more delightful than the first day she had come to Lampang. เนื่องจากสภาพอากาศวันนี้ร้อนมาก หลังจากที่พังตุ้มทองได้ลงไปเล่นโคลนบริเวณริมอ่างเก็บน้ำแม่ยาวแล้ว พังตุ้มทองก็ได้เดินเล่น และหากินบริเวณขอบอ่าง สังเกตุได้ว่าวันนี้พังตุ้มทองดูสดชื่นกว่าวันที่เดินทางมาวันแรกมาก

Makhampom : Elephant's Herb

While our field staff are surveying area to expand the electric fence they found 3 Emblic Myroboland or Indian Goosebery (Makhampom) trees which its scientific name is Phyllanthus emblica L. Elephant eat them to rid of the parasite worm and help in digestive system. Also this fruit is the richest natural source of vitamin C which it has vitamin C 20 times more than oranges .
ขณะที่พวกเราเดินสำรวจพื้นที่ที่จะต่อเติมรั้วไฟฟ้านั้น เราได้พบกับต้นมะขามป้อม จำนวน 3 ต้น ในพื้นที่ ซึ่งต้นมะขามป้อมนั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus emblica L. ถ้าหากช้างได้กินมีสรรพคุณทางยาก็คือ ผล เป็นยาระบาย ยาถ่ายพยาธิเส้นด้ายได้ดีมาก และช่วยย่อยอาหาร อีกทั้งผลมะขามป้อม ยังมีวิตามินซีมากกว่าผลส้ม ถึง 20 เท่าอีกด้วย
Field staff is clearing the path to expand the electric fence boundary to make larger area for elephants, also more area for water they'll get.
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม จังหวัดลำปาง ได้ช่วยกันถางหญ้าทำแนวรั้วไฟฟ้าโดยต่อเติมจากรั้วไฟฟ้าเดิม ขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อขยายให้ช้างมีพื้นที่ในการกินอาหารให้มากขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มแหล่งน้ำสำหรับให้ช้างลงกิน และเล่นเพิ่มขึ้นอีกด้วย
Our field staff brought Pang Eurng Luang and Seedor Phatorn lived together in the electric fence area, but Seedor Phatorn screamed and walked away from Pang Eurng Luang when she came close to him. For 2 weeks ago Seedor Phatorn can get on with Pang Eurng Luang and live with her.
หลังจากที่เราได้นำพังเอื้องหลวงและสีดอภาธรไปปล่อยไว้ภายในรั้วไฟฟ้า เพื่อปรับพฤติกรรมของช้างบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมืองจังหวัดลำปาง เป็นเวลาประมาณ 2 อาทิตย์ ปรากฏว่าเช้าของวันนี้เราเห็นเช้างทั้งสองตัวเริ่มทำความคุ้นเคยต่อกันแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ช้างทั้งสองจะไม่ยอมเข้าใกล้กัน โดยเฉพาะสีดอภาธร พอเวลาพังเอื้องหลวงเข้าไปใกล้ๆ เพื่อดมทำความรู้จัก สีดอภาธรก็จะส่งเสียงร้องตลอดเวลาและพยายามหันหลังวิ่งหนี

Wednesday, March 19, 2008

Tracking elephants in Doi Pha Muang Forest

Pang Kammoonyai พังคำมูลใหญ่
Pang Malai and Pang Boonmee พังมาลัย และพังบุญมี
Our field staff tracked released elephants into the forest by walking along to Mae Pon Creek then walked over mountain ridge and went down to Poad Had Creek. They found Pang Malai and Pang Boonmee were eating vine and banana trees. Our 2 elephants are plunp and healthy , don't have any wound. Not far from them our field staff met the eating trail of our elephant in the last 4 days so, they were tracking the elephant then they met Pang Kammoonyai was having bamboo trees in the bamboo wood alone, she is healthy. After checking elephants our field staff came back to the camp. They spend on 1 nigth and 2 days for this tracking job.
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม จังหวัดลำปาง ได้เดินทางเข้าป่าติดตามช้างที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง โดยเดินทางเข้าไปตามลำห้วยแม่ป๋อน เดินไปตามสันเขา จากนั้นเดินลงไปตามลำห้วยปอดแฮด พบพังมาลัยและพังบุญมี กำลังกินเถาวัลย์ และต้นกล้วยอยู่ ช้างทั้งสองอยู่ห่างกันประมาณ 10 เมตร พอพังมาลัยและพังบุญมีเห็นเจ้าหน้าที่ก็รีบเดินมาอยู่รวมกัน ช้างทั้งสองตัวมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีบาดแผล และหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ออกเดินทางต่อขึ้นไปตามลำห้วยปอดแฮด พบรอยการกินอาหารของช้างประมาณ 4 - 5 วันผ่านมา เจ้าหน้าที่จึงเดินตามรอยไปเรื่อยๆ ซึ่งร่องรอยการกินอาหารของช้างได้เดินย้อนลงมากินน้ำที่บริเวณลำห้วยปอดแฮด แล้วก็เดินขึ้นเขาไปทางทิศเหนือของลำห้วยปอดแฮดและก็ได้พบกับพังคำมูลใหญ่ กำลังกินไผ่ซางอยู่ตัวเดียว พังคำมูลใหญ่ร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงพากันเดินทางกลับแคมป์ ใช้เวลาในการเดินทาง 1 คืน 2 วัน
Plai Somrak lives with other elephants : Pang Mae Boonkeaw Pang Pornthita and Plai Suthin after he was in musth. พลายสมรักษ์อยู่ร่วมกับพังแม่บุญแก้ว พังพรชิตาและพลายสุทินอย่างมีความสุข
Khun Premjith Hemmawath, Manager of Elephant Reintroduction Foundation leads the group of Bangkok Bank staff to survey Sublangka wildlife Sanctuary before releasing elephant on March 30, 2008. คุณเปรมจิตร เหมวัฒน์ ผู้จัดการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ นำคณะเจ้าหน้าที่จากธนาคารกรุงเทพฯ เข้าดูพื้นที่โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาเพื่อดูพื้นที่เตรียมจัดกิจกรรมปล่อยช้างในวันที่ 30 มีนาคม 2551

Tuesday, March 18, 2008

Our new elephant "Pang Tumthong" arrived to The Foundation at Lampang Camp 2 in early morning on March 18, 2008 already. เช้ามืดของวันที่ 18 มีนาคม 2551 เวลาประมาณ 04.00 น. ช้างตัวใหม่ที่มูลนิธิฯ รับเข้าสู่โครงการ ชื่อ "พังตุ้มทอง" ได้เดินมาจากอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ถึงมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ จังหวัดลำปาง บริเวณแคมป์ 2 อ่างเก็บน้ำแม่ยาว เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
After Pang Tumthong had come Mor Sitthidaj and Mor Pongpol, veterinarian checked her blood and health at 10.30 AM before bringing her to rehabilitate in the forest.
หลังจากนั้นเวลาประมาณ 10.30 น. นายสัตวแพทย์สิทธิเดช มหาสาวังกุล และนายสัตวแพทย์ ปองพล หอมคง ได้เข้ามาเก็บเลือด และตรวจสุขภาพของพังตุ้มทอง เพื่อนำไปตรวจ ก่อนที่จะนำมาปรับพฤติกรรมทดลองปล่อยสู่ป่าต่อไป
Pang Gonthong and Pang Saithong พังก้อนทอง พังสายทอง
พังสายทอง
Our elephant, Pang Gonthong and Pang Saithong were released and let them free roam at Mae Yao Creek for 7 months. They are healthy and cheerful, they 've never been out of their area. ทางมูลนิธิได้ทดลองปล่อยพังก้อนทองและพังสายทอง โดยปรับพฤติกรรมให้หากินเองอยู่ในป่าบริเวณลำห้วยแม่ยาวเป็นเวลาประมาณ 7 เดือนผ่านมาแล้ว ช้างทั้งสองมีสุขภาพแข็งแรง มีนิสัยร่าเริง และไม่เคยออกนอกพื้นที่ไปไหน สังเกตุได้จากภาพ พังก้อนทองและพังสายทอง มีร่างกายอ้วนท้วนสมบูรณ์ขึ้นมาก

Sunday, March 16, 2008

Plai Doremon, a little boy in Sublangka Forest. พลายโดเรมอน หนุ่มน้อยในป่าซับลังกา
Pang Dao, a little girl in Sublangka Forest. พังดาวสาวน้อยในป่าซับลังกา
Pang Doremi enjoys eating พังโดเรมีกำลังกินใบไม้อย่างมีความสุข

Saturday, March 15, 2008

Plai Somluk has a bad temper during he got musth and his temper is getting better now because he is in the end of musth period. Our field staff suppost that Plai Somluk will finish his musth within 1 week. พลายสมรักษ์ สุขภาพและอารมณ์ดีหลังจากที่น้ำมันที่ขมับหยุดไหล เจ้าหน้าที่ภาคสนามคาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์ พลายสมรักษ์น่าจะหายจากการตกมัน

Thursday, March 13, 2008

Requiem For Lomsak

Because of the government has set a "Thai elephant Day" on 13 March of every year. Thus, our field staff in Lopburi make merit for Plai Lomsak to recall him on March 13, 2008. เนื่องจากวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันช้างไทย เจ้าหน้าที่ภาคสนามจังหวัดลพบุรีจึงได้จัดกิจกรรมทำบังสุกุลให้แก่พลายหล่มสัก เพื่อเป็นการระลึกถึงและไว้อาลัยแก่พลายหล่มสัก

EGAT Electric Fence Contractor

คุณไพศาล สุขวัฒนานุกิจและคณะจากบริษัทเซ็กโก้ เอช.วี.จำกัด (ผู้รับเหมาก่อสร้าง)เข้าดูพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้างแนวรั้วไฟฟ้า เพื่อประเมิณสภาพการก่อสร้างก่อนที่จะทำการประเมิณงบประมาณการก่อสร้างส่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตต่อไป

Tracking the Elephants


Our field staff are making a camp to rest while they are tracking and observing elephants at Doi Pha Muang Wildlife Sanctuary. This is a part of field staff work every month.
เจ้าหน้าที่ภาคสนามประจำจังหวัดลำปาง ตั้งแคมป์พักผ่อนกลางป่าใหญ่ เพื่อเตรียมตัวออกติดตามและสังเกตุพฤติกรรมกลุ่มช้างที่มูลนิธิฯ ได้ทำการทดลองปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ซึ่งนี้คือ อีกหน้าที่หนึ่งของเจ้าหน้าที่ภาคสนามที่ต้องปฎิบัติในแต่ละเดือน

An Abundance of Elephant Foodstuff in Doi Pha Muang

After our field staff had been tracking elephants deep into the forest, they found abundance of elephant food such as banana and bamboo tree ,etc. For this reason our elephant are healthier and stronger when they are living here.
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ภาคสนามออกเดินติดตามช้างเข้ามาในป่า พบว่า ป่ายังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก แม้ว่าขณะนี้จะเริ่มเข้าช่วงฤดูแล้งแล้ว ซึ่งจากภาพจะเห็นว่า ยังมีพืชพันธุ์อาหารสำหรับช้างกินได้อีกมากมาย อาทิเช่น ต้นกล้วยและไผ่ ด้วยเหตุนี้เองช้างที่ถูกนำมาปล่อยเลี้ยงในพื้นที่นี้จึงมีความสมบูรณ์ และแข็งแรงขึ้นตามลำดับ แตกต่างจากตอนที่นำเข้าสู่โครงการฯ ในระยะแรก

Elephant Behaviour: New Groupings

After our elephant are released and let them free roam for a while, our field staff met a herd of elephants : Pang Morakot, Plai Sukhum, Pang Shara, Pang Pansa and Seedor Sombat live togeter. In the past the elephants swapped with other group for 2-3 months, now they form a big group. This event show us the nature of wild elephants' behavior when they are free roam and form a herd "elephant grouping". หลังจากที่มีการทดลองปล่อยช้างให้อยู่ตามธรรมชาติผ่านมาได้สักระยะหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของเราก็ได้พบกับช้างโขลงหนึ่ง อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ซึ่งช้างโขลงนี้ประกอบไปด้วย พังมรกต พลายสขุม พังซาร่า พังพรรษา และสีดอสมบัติ ซึ่งก่อนหน้านี้ช้างทั้ง 5 ตัว ได้สับกลุ่มวนเวียนไปมากับช้างกล่มอื่นอยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 2 - 3 เดือน จนในขณะนี้เกิดการรวมกล่มกันเป็นกล่มใหญ่ นี่แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติหรือพฤติกรรมของช้างอย่างหนึ่งที่มีการอยู่แบบอิสระ ก็คือ การอยู่ร่วมกันแบบเป็นกลุ่ม หรือที่เราเรียกว่า "การรวมโขลง"
Every released elephants in Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary, Lampang are happy with their food. ช้างทุกตัวที่มูลนิธิฯ ได้ทำการทดลองปล่อยเลี้ยงในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง กำลังมีความสุขกับอาหารที่อุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก

Elephant Memorial Day March 13

Owing to the elephants of The Elephant Reintroduction Foundation died from their old age or other cause, and on 13 March each year is "Thai Elephant Day" so The Foundation make merit for them and remember them in this day. After consulting veterinarian untertake the autopsy and investigate the cause of dead, some elephants' organs and skeleton were kept for veterinarian learning. เนื่องจากทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ได้มีช้างในโครงการที่เสียชีวิตลงอาจเนื่องด้วยอายุขัย หรืออื่นๆ และทุกครั้งที่ช้างทุกตัวได้เสียชีวิตลง ทางมูลนิธิฯ ได้พาสัตวแพทย์เข้ามาทำการชันสูตรซากเพื่อหาสาเหตุการตาย นำอวัยวะต่างๆ ที่มีประโยชน์มาดอง รวมถึงโครงกระดูกของช้างได้นำมาเก็บรักษาไว้ เพื่อใช้ในการศึกษาต่อไป และเนื่องด้วยรัฐบาลได้กำหนดให้วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันช้างไทยซึ่งในปีนี้ทางมูลนิธิฯ จึงได้จัดพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปยังช้างของมูลนิธิฯที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อเป็นการแสดงความระลึกถึงและไว้อาลัยแก่ช้างซึ่งเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศ