Wednesday, July 02, 2008

องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch. ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE)

These are pictures of wild grapevine in Sublangka Wildlife Sanctuary. เถาองุ่นป่าที่กำลังจะเป็นผลในไม่ช้า ชื่อสามัญ Common name : องุ่นป่า , เถาเปรี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Ampelocissus martinii Planch. ชื่อวงศ์ Family name: VITACEAE (VITIDACEAE) ชื่ออื่น Other name: เครืออีโกย (อีสาน) กุ่ย (อุบล) เถาวัลย์ขน (ราชบุรี) ส้มกุ้ง (ประจวบฯ)ตะเปียงจู องุ่นป่า (สุรินทร์) Flower : Occur in clusters that arise from the area between the stem and leaf petiole (leaf axils). Individual flowers are relatively inconspicuous . Stems: Climb over other vegetation or objects by way of tendrils or grow prostrate along the ground. Stems become woody with age and the bark sheds in strips. The tendrils that aide in climbing are forked and arise opposite from the leaves. Stem sections that have been cut can easily generate new plants. Leaves: Several species of Vitis occur with leaves that are generally ovate in outline and taper to a distinct point. Some species has leaves that are divided into 3 to 5 lobes. Leaves are arranged alternately along the stem, have veins that arise from a common point, and have toothed margins. ลักษณะทั่วไป : ไม้เลื้อยล้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิว ใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ประโยชน์และความสำคัญ ทางอาหาร ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อนต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานดอกมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอหรือนำผลสุกมาตำใส่ส้มตำ ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล

No comments: