Monday, September 07, 2009

Project Plan: The study of elephant behavior and adaptation ability in the wild.

The study about an elephant behavior is planed to proceed systemically because the elephant behavior is the great important indicator to point to elephant status, adaptation ability and reintroduction achievement.
From the field staff acquisition training course 2009, the foundation staff started to study about an elephant behavioral research, and then they practiced a concept about a behavior sampling by scientific method. An ethogram is designed for the behavior sampling and can be used to be standard for an elephant database recording. The sampling by tracking the behavior should be done continuously. In addition, the elephant behavior will be recorded by various recorders, e.g., report, photo, and video that can clearly reveal more details and be a good presentation for learning and broadcasting.
Furthermore, other elephant samples, for instance, voices, feces, footprints, and traces of the elephant in the wild ought to be reported because they are an important data to know about the elephant when the elephant cannot be found. There are many ways for the sample recording, e.g., note, drawing, tape recording, photography.
In brief, the database from both elephant and environmental samples is an essential knowledge source for the foundation work and expanding an elephant knowledge base, therefore aggregation this database and publishing a journal or a handbook should be done. Also, a content of the book may be appended the practical tips, for example, roaming about the forest, an elephant tracking, bewaring of hazards and a manual of the elephant sampling.
การศึกษาเรียนรู้พฤติกรรมช้างอย่างเป็นระบบ มีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากพฤติกรรมที่แสดงออกเป็นเครื่องชี้วัดได้ถึงสถานภาพของช้างทั้งทางร่างกายและจิตใจ ความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมในป่าของช้าง ตลอดจนการบ่งบอกถึงประสิทธิภาพและความสำเร็จในการปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ
จากการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ภาคสนาม ประจำปี 2552 เจ้าหน้าที่ภาคสนามได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมช้างและการศึกษาวิจัยด้านพฤติกรรม โดยมีการฝึกฝนการเก็บข้อมูลพฤติกรรมช้างตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้อีโทรแกรมซึ่งเป็นแบบฟอร์มสำหรับการเก็บข้อมูลพฤติกรรมช้างเพื่อนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลด้านพฤติกรรมที่มีมาตรฐาน โดยที่การศึกษาวิจัยและการติดตามช้างเพื่อเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมช้างนั้นควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และควรมีการเก็บข้อมูลพฤติกรรมด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การจดบันทึก การถ่ายภาพ และการถ่ายวีดีโอ เป็นต้น เพื่อให้สามารถแสดงรายละเอียดต่างๆของพฤติกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถใช้เป็นสื่อสำหรับการเรียนรู้และเผยแพร่ต่อไป
นอกจากนี้ ควรการเก็บข้อมูลอื่นที่มิใช่พฤติกรรมช้าง เช่น การบันทึกเสียงของช้าง การเก็บตัวอย่างมูล รอยเท้าและร่องรอยต่างๆ ซึ่งอาจทำได้จากการจดบันทึก วาดภาพ หรือถ่ายภาพ โดยข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับตัวช้างได้แม้ว่าจะไม่พบเห็นตัวช้างก็ตาม
จากฐานข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากช้างและสภาพแวดล้อมของช้างนี้เป็นแหล่งความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งทั้งต่อการดำเนินงานของมูลนิธิเพื่อปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ และเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับช้าง ดังนั้นจึงควรมีการรวบรวมข้อมูลความรู้เหล่านี้ และเผยแพร่หรือตีพิมพ์ในวรสารหรือหนังสือ โดยที่เนื้อหาสาระอาจครอบคลุมถึงเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องและสามารถใช้ได้จริง เช่น การเดินป่าและระวังภัย การติดตามรอยช้าง รวมทั้งคู่มือวิธีการเก็บข้อมูลช้าง เป็นต้น

No comments: