Thursday, July 31, 2008

Pang Narak and Pang Lampang พังน่ารักกับแม่รับใหม่ คือ พังลำปาง
Pang Narak and Pang Duern พังน่ารักที่อยู่กับพังเดือน
At the first time When Pang Narak came to Sublangka She got Pang Duern to be her adoptive mother but Pang Duern has her own daughter so we provide Pang Lampang for her . Our field staff notices that young elephant is happier when stay with new adoptive mother.
พังน่ารักลูกช้างที่เข้ามาอยู่ในป่าซับลังกาเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 เดิมแม่รับคือพังเดือนแต่เนื่องด้วยพังเดือนมีลูกของตัวเองอยู่แล้วคือพังดาว ทำให้พังน่ารักไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร (จากการติดตามพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม) ทำให้ร่างกายดูซูบผอมลงและไม่ร่าเริงเท่าที่ควรรวมทั้งอาจจะเกิดจากการเปลี่ยนอาหาร ทางมูลนิธิฯจึงให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามหาแม่รับให้กับพังน่ารักใหม่ ปรากฎว่าพังน่ารักเข้ากับพังลำปาง ได้เป็นอย่างดีและจากการสังเกตประมาณ 3 วันที่ผ่านมา พบว่าพังน่ารักร่าเริงขึ้นบ้างแต่คงต้องรอดู พฤติกรรมอีกระยะจึงจะสามารถสรุปความชัดเจนได้

Progression of Control House

RCR is cementing to make a floor of control house at Sublangka.

บริษัท อาร์ ซี อาร์ จำกัด ได้เทพื้นอาคารควบคุมรั้วไฟฟ้า

Wednesday, July 30, 2008

The foundation starts to rehabilitate new elephants (Pang Sawang and Plai Phalang) by let them free roaming nearby The Mae Yao Reservoir.

หลังจากที่ทางมูลนิธิฯ รับพังสว่าง และพลายพลังเข้าโครงการ ก็เริ่มปรับพฤติกรรมโดยการทดลองปล่อยให้ช้างหาอาหารกินเอง โดยช้างทั้งสองชอบเดินมากินอาหารบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำแม่ยาว

Pang Sawang surveys the reservoir

Mae Yao Reservoir was drain water for farmer until the water level is low therefore the elephant can play in the reservoir and have some water hyacinth.

ช่วงนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำแม่ยาวดูแห้งลงไปมาก เนื่องจากทางอ่างเก็บน้ำได้ปล่อยน้ำให้ชาวบ้านไว้ทำนา จึงทำให้พังสว่างลงไปเดินเล่นและกินผักตบชวาข้างๆ ขอบอ่างได้

Tuesday, July 29, 2008

30 electricity posts have been put into the hole and waiting for alignment and burrying.

เสารั้วไฟฟ้าที่ได้นำลงหลุมแล้วซึ่งเมื่อนำเสาฯลงหลุมแล้วได้ประมาณ 30 ต้น และหลังจากนี้ต้องรอการวัดไห้ได้ตามแบบแปลนและรอการฝังกลบ

A tow car is raising the column into a hole.

รถยกกำลังยกเสารั้วไฟฟ้าลงหลุมที่ขุดไว้

A truck is delivering electricity posts to the work area.

รถกำลังขนเสาที่ใช้ในการสร้างรั้วไฟฟ้าเข้ามาในพื้นที่เพื่อรอการดำเนินการ

RCR staffs are measuring the line of electric fence. พนักงานบริษัทอาร์ ซี อาร์ กำลังเช็คแนวระยะการตั้งเสารั้วไฟฟ้าป้องกันช้าง

EGAT's fieldwork camp site for coordinating while they work at Sublangka Wildlife Sanctuary.

สำนักงานภาคสนามสำหรับประสานงานโครงการก่อสร้างรั้วไฟฟ้าป้องกันช้าง

Our field staff at Lampang are making an elephant standup bar at Camp 2 to hold the elephant steady when the veterinarians check up the elephant's health.

เจ้าหน้าที่ภาคสนามกำลังช่วยกันทำที่สำหรับกั้นช้างเพื่อให้น ายสัตวแพทย์ทำการตรวสสุขภาพช้างได้อย่างสะดวกบริเวณแคมป์ 2

Three New Elephants Arrive in Lampang

Plai Sumet, 13 years old elephant.

พลายสุเมธ (สมหวัง) ช้างอีกตัวหนึ่งที่เข้าโครงการมาพร้อมกับพลายพลังและพังสว่าง

Elephant Tusks

Plai Phalang, 10 years old. The seller recently cut the tips of the tusks of this elephant before he delivered the elephant to us. It is a sad affair.

Our elephant specialist from Mae Sarieng, Suppachai, has studied this photo and says that the white core of the tusk can be seen, meaning that it is unlikely that the tip of the tusk will naturally regrow itself again. Also, he said that care must be taken to ensure that infection does not attack the core or the tusk will rot and fall off. In Suppachai's experience, the tusk will regrow and become pointed again as long as the inner white core is not penetrated.

Furthermore, Suppachai noted that the elephant has a hole in the upper lob of his right ear, marking him as an elephant originally from Mae Sarieng, not from Surin from where he was delivered.

พลายพลัง (เพชรไพลิน)อายุ 10 ปี เป็นช้างพลายอีกตัวที่รับเข้าโครงการ คนที่ขายช้างได้ตัดปลายงาของช้างออก ก่อนที่จะนำส่งมาให้แก่มูลนิธิฯ

ศุภชัย เจ้าหน้าที่ภาคสนามชาวแม่สะเรียง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความชำนาญเรื่องช้าง ดูรูปภาพงาของพลายพลังแล้วกล่าวว่าตรงใจกลางงามองเห็นแกนกลางสีขาวหมายความว่างาคงจะไม่งอกออกมาอีก และต้องดูแลรักษาความสะอาดไม่ให้มีการติดเชื้อเพราะถ้ามีการติดเชื้อ งาจะหลุดออกมาได้ และจากประสบการณ์ของศุภชัย ทำให้ทราบว่างาจะงอกออกมาได้อีกตราบใดที่แกนกลางงาสีขาวไม่ปรากฎ

นอกจากนี้ศุภชัยได้ให้รายละเอียดว่า หูที่มีรูเจาะของช้างตัวนี้เป็นลักษณของช้างที่มาจากทางแม่สะเรียงไม่ใช่ช้างที่มาจากสุรินทร์

Pang Sawang: our new female elephant , she enjoys the mud at Mae Yao Reservoir,Lampang

พังสว่าง (บุญมี) ช้างตัวใหม่ที่รับเข้าโครงการ ซึ่งหลังจากที่ถึงบริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ยาว ก็ลงเล่นโคลนจนตัวเลอะเทอะไปหมด

In the last 30 kilometers to Camp2,Lampang, a truck's tire is flat so our field staff hurry up to help them to change the tire and then continue to camp2.

ในระหว่างการเดินทางเคลื่อนย้ายช้าง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรใกล้จะถึงตัวแคมป์ 2 เวลาประมาณ 24.00 น. รถขนช้างเกิดอุบัติเหตุยางรั่ว ทางเจ้าหน้าที่ภาคสนามของเราจึงรีบเดินทางมาให้ความช่วยเหลือ จนในที่สุดก็พาช้างทั้ง 3 ตัวไปส่งถึงแคมป์ 2 อย่างปลอดภัย

The Foundation buys 3 elephants :Pang Sawang, Plai Sumet and Plai Phalang from Surin Province to join our project. They arrive at Camp 2, Lampang around 02.30 AM on July 27, 2008.

คืนวันที่ 26 กรกฎาคม 2551 พังสว่าง พลายสุเมธ และพลายพลังได้เดินทางมาจากจังหวัดสุรินทร์ โดยถึงแคมป์ 2 จังหวัดลำปาง เมื่อเวลาประมาณ 02.30 น.

Monday, July 28, 2008

Elephant's manner

After Pang Phetchara is full she takes a rest in the shady bamboo grove .

พังเพชรากำลังนอนพักผ่อนหลังจากที่กินอาหารอิ่มแล้ว

Our elephants at Lampang are healthy such as Pang Gonthong. In the pictures, Pang Gonthong cross over a log easily .
ขณะที่พังก้อนทองกำลังเดินกินอาหารอยู่บริเวณลำห้วยแม่ป๋อน เค้าก็เดินข้ามกิ่งไม้ที่ขวางทางอยู่ได้อย่างคล่องแคล่ว

Sunday, July 27, 2008

Seedor Suthas: a young elephant at Sublangka Forest.
สีดอสุทัศน์ หนุ่มน้อยจอมซุกซนประจำป่าซับลังกา

Seedor Doremon and Pang Narak

สีดอโดเรมอน(ซ้ายมือ)และพังน่ารัก(ขวามือ)

Elephants at Sublangka Wildlife Sanctuary are surrounded by abundant of elephant's food. ช้างในป่าซับลังกามีความสุข เนื่องจากอยู่ท่ามกลางอาหารที่สมบูรณ์

Oriental Civet: Viverra Tangalunga Identified!

On July 26 our trail sentry camera takes photo of an animal and when compared with photo taken on Jan. 9, 2008, we can determine that it is the same animal from the black spots. This time we can see (bottom photo) clearly the stripe marks around its neck which identifies it as an Oriental Civet - Viverra tangalunga.
ก่อนหน้านี้คือเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2551 กล้องก็สามารถจับภาพชะมดได้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา(ภาพบน) ซึ่งในครั้งนั้นเราไม่สามารถบอกได้ว่า เป็นชะมดแผงหางปล้องหรือชะมดมาเลย์ แต่เมื่อกล้องสามารถจับภาพได้อีกครั้งในวันที่ 26 กรกฎาคม 2551 (ภาพล่าง) และเมื่อเรานำภาพทั้งสองมาเปรียบเทียบดูแล้วพบว่า ภาพทั้งสองเป็นชะมดตัวเดียวกันเนื่องจากลักษณะของจุดบนตัวชะมดเหมือนกัน และจากภาพล่าสุดเราสามารถมองเห็นลายตรงคอของชะมดได้อย่างชัดเจน จึงสามารถสรุปได้ว่า ชะมดตัวนี้เป็นชะมดมาเลย์ สัตว์ป่าที่หาดูยากในซับลังกา
ชื่อภาษาไทย:ชะมดมาเลย์ ชื่อสามัญ:Oriental Civet ชื่อวิทยาศาสตร์:Viverra tangalunga

Friday, July 25, 2008

Elephant Electric Fence Control House

Work on the elephant electric fence begins with the construction of the Control House while the posts are being manufactured. บริษัท อาร์ ซี อาร์ ได้ลงมือก่อสร้าง CONTROL HOUSE ของแนวรั้วป้องกันช้าง : โดยขณะนี้ได้ทำการเทคานวางฐานรากของ CONTROL HOUSE เรียบร้อยแล้วและในขั้นตอนถัดไปจะเป็นการก่อสร้างตัวอาคาร
The formerly captive elephants explore the wilderness on their own while under the Foundation's closely watched rehabilitation program. พังแม่บุญแก้ว พลายุทินและพังพรชิตา กำลังเดินเล่นในป่าซับลังกาอย่างมีความสุข

Thursday, July 24, 2008

Lampang's Electric Fence Project 2 Completed

The electric fence Project 2 at Lampang is ready for our elephants to rehabilitation in an area of over 100 rai or 40 acres. This electric fence has been constructed entirely by the Foundation's field staff according to our self-sufficiency style. This solar powered electric fence has been effective in keeping the selected elephants within the control area, while allowing them free movement within a reasonable land area where vegetation and foodstuff is available. Please be reminded that the Foundation has never had to buy supplementary foodstuff for the elephants in the program, except for a few cases when the elephants were sick and had to be treated.

แนวรั้วไฟฟ้าโครงการ 2 ซึ่งจะอยู่ใกล้ๆ กับรั้วไฟฟ้าโครงการ 1 พร้อมที่จะนำช้างเข้าไปทดลองปรับพฤติกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Our field staff installs cutout for connecting the current from electric fence project1 to project2 at Mae Yao Reservoir.

คัทเอาท์สำหรับที่เชื่อมต่อรั้วไฟฟ้าโครงการ 1 ไปรั้วไฟฟ้าโครงการ 2 บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ยาว จังหวัดลำปาง

EGAT Donates Baht 10 Million


Dr. Sumet Tantivejkul, Chairman of The Foundation and Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary-General of The Foundation attend to announcement ceremony "Cooperation between Elephant Reintroduction Foundation and EGAT" on July 23, 2008. EGAT (Electricity Generating Authority of Thailand) donates Baht 9,000,000 to build the Electric Fence at Sublangka Wildlife Sanctuary in Lopburi. And the staff of EGAT donate Baht 1,000,000 for the release of two elephants in the EGAT's "Elephants Back to the Forest Program".
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ และคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิฯ ร่วมงานพิธีแถลงข่าวความร่วมมือระหว่าง กฟผ. และมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติในโครงการ "กฟผ.คืนช้างสู่ป่า" ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2551

ARROW PR prepares another Advertisement

Khun Sitthipong Kitthamrongworakul 's team , PR staff form ARROW visit The Foundation at Lampang to check the readiness and to make a next advertisement film.

ทางแอร์โรว์นำทีมโดยคุณ สิทธิพงษ์ กิจธำรงวรกุล ฝ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์แอร์โรว์ ได้เข้ามาดูสถานที่ที่จะเข้ามาปล่อยช้าง ในวันที่ 22 สิงหาคม 2551 นี้ และถ่ายทำโฆษณาประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปล่อยช้างคืนสู่ป่า

There are a lot of elephant food in the forest so Plai Phat can choose his favorite food.

ช่วงนี้พื้นที่ในป่าอุดมสมบูรณ์ พลายพัทธ์ก็สามารถเลือกกินแต่อาหารที่ชอบได้อย่างมีความสุข

Our field staff sees Pang Gonthong stripping the bark of a tree near pond 2, Mae Yao Nation Reserve Forest. Elephant use tree bark nutrients for various reasons. Such as for deworming or as pain relief, like aspirin.

พังก้อนทองกำลังจะแทะกินเปลือกไม้โดยเจ้าหน้าที่ได้ไปพบตรงบริเวณสระ 2 เขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ยาว

Wednesday, July 23, 2008

Ruttanaporn and Jutamart, Elephant Reintroduction Foundation's staff are counting moneys from donation boxs. รัตนาภรณ์ และ จุฑามาศ เจ้าหน้าที่มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ สำนักงานกรุงเทพฯ กำลังนับเงินบริจาคที่ได้จากการเก็บจากตู้บริจาคของมูลนิธิฯ

Sunday, July 20, 2008

Our field staff meet this python in Sublangka forest.

งูเหลือมในป่าซับลังกา

ชื่อภาษาไทย:งูเหลือม ชื่อสามัญ Common name :Reticulated Python ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name :Python reticulatus ชื่อวงศ์ Family :Pythonidae นิเวศวิทยา:งูเหลือมอาศัยอยู่ตามป่าตั้งแต่ที่ราบจนถึงระดับความสูง1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง และบางครั้งยังพบอาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น ๆ เช่น แหล่งที่อยู่อาศัยของคน สวนพื้นที่เกษตรกรรม หากินบนพื้นดินแต่ก็สามารถปีนต้นไม้ได้ดี จัดเป็นงูที่ฆ่าเหยื่อให้ตายโดยการกอดรัดให้เหยื่อตาย ซึ่งโดยส่วนมากแล้วเหยื่อที่กินค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น หนู จนกระทั่งขนาดใหญ่ เช่น กวาง หมูป่า เป็นต้น ชีววิทยา:ตัวเมียเต็มวัยวางไข่ครั้งละ 124 ฟองซึ่งเป็นจำนวนสูงสุดที่เคยมีการศึกษามา ตัวเมียจะกกไข่อยู่ประมาณ 3 เดือน ลูกงูแรกเกิดมีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย การกระจาย:ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ทางเหนือกระจายไปถึงพม่าทางฝั่งตะวันออกถึงฟิลิปปินส์

The Picture of Sambar Deer were takken by Bushnell Camera. ภาพกวางตัวผู้ที่กล้อง Bushnell ถ่ายภาพไว้ได้

ชื่อภาษาไทย : กวางป่า หรือกวางม้า ชื่อสามัญ common name : Sambar Deer ชื่อวิทยาศาสตร์ Sciencetific name : Cervus unicolor (Kerr, 1792) ชื่อวงศ์:Order : Artiodactyla Family : Cervidae Genus : Cervus นิเวศวิทยา:ถิ่นที่อยู่อาศัยกวางป่าสามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลายประเภทตั้งแต่ป่าที่มีความสมบูรณ์ไปจนถึงป่าเสื่อมโทรมหรือชายป่าใกล้พื้นที่เกษตรกรรม กวางป่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างดี ทำให้มีการกระจายที่กว้างขวาง อาหาร กวางป่ากินหญ้าและใบไม้ชนิดต่างๆ ผลไม้ที่ร่วงหล่นตามพื้นดิน ฯลฯ นอกจากนี้กวางป่ายังกินดินโป่งเพื่อเป็นอาหารเสริมอีกด้วย อุปนิสัย กวางป่าอาศัยอยู่ตามลำพัง ออกหากินในเวลากลางคืนและนอนหลับพักผ่อนตามป่าที่รกชัฏในเวลากลางคืน กวางป่าว่ายน้ำได้เก่งมากเวลาหลบหนีฝูงหมาใน พวกมันมักวิ่งหนีลงไปอยู่ในน้ำมีโอกาสรอดชีวิตมากกว่าวิ่งหนีอยู่ในป่า กวางป่าตัวผู้จะผลัดเขาปีละครั้งในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายน หลังจากนั้นเขาอ่อนของมันจะค่อยๆ งอกยาวขึ้นมาใหม่ กวางป่ามักเกิด ?เรื้อนกวาง? ซึ่งมีลักษณะเป็นแผลถลอกกลมๆ ขนาดไม่ใหญ่นักใต้ลำคอ สาเหตุของเรื้อนกวางยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด ชีววิทยา:ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ในสถานที่เพาะเลี้ยงกวางป่ามีอายุยืนประมาณ 15 ? 20 ปี การกระจาย:กวางป่ามีการกระจายในแถบภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ตั้งแต่ทางภาคใต้ของอินเดียเรื่อยไปทางตะวันออกของเกาะลูซอนของฟิลิปินส์ เกาะไต้หวัน และเกาะชวา