Our Mission is to realize the vision of Her Majesty Queen Sirikit, The Queen Mother by reintroducing domesticated elephants into the wild, restoring wild habitats with indigenous plants and wildlife, researching and propagating knowledge about elephants and promoting appropriate management of elephants in Thailand for their long-term survival.
Thursday, November 29, 2007
Khun Parichat presents about the Foundation and the advantage of elephant to the nature to 200 Students from Chulapornwittayalai School,Lopburi.
นักเรียนจากจุฬาภรณ์วิทยาลัย จ.ลพบุรี จำนวน 200 คน เข้าศึกษาธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา คุณปาิริชาติ จันทร์ครุฑ เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคสนาม มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับมูลนิธิฯ ข้อมูลเกี่ยวกับช้างและประโยชน์ที่ช้างให้กับป่า ซึ่งได้รับความสนใจจากน้องเป็นอย่างมาก
Wednesday, November 28, 2007
Sublangka Field Staff Training Program
Course "The Skill in Elephant Care Trainning Course" has hold at Sublangka Wildlife Sanctuary during November27-28, 2007 for field staff also the Sublangka wildlife Sanctuary joint us in this course.
ในระหว่างวันที่ 27 -28 พฤศจิกายน 2550 มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้จัดอบรมเพิ่มความรู้และทักษะการดูแลช้าง
ให้แก่เจ้าหน้าที่ภาคสนาม โดยในครั้งนี้ทางเขตรักษาพันธ์ุ์ป่าซับลังกา
ได้ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมการอบรมด้วย ซึ่งการอบรมครั้งนี้มีนายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช นายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลช้างและนายสัตวแพทย์เฉลิมชาติ สมเกิด อาจารย์มหาวิยาลัยเชียงใหม่เป็นวิยากรในการอบรม
In the morning, on November 27, 2007 Mor Chalermchat Somgird describe about elephant's anatomy and biology. Which the trainee is learning with intention and ask for question.
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550
ช่วงเช้านายสัตวแพทย์เฉลิมชาติ สมเกิด บรรยายเรื่องสรีระวิทยาและชีววิยาของช้าง ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมตั้งใจฟังและซักถามเป็นช่วง ๆ ของการบรรยาย
In the afternoon, Mor Taweepoke Angkawanish lets the trainee introduce yourself and then he explain about the elephant's situation in Thailand and the method of reporting for the research.ช่วงบ่าย ก่อนที่นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช จะบรรยายนั้นได้มีการให้ผู้เข้าอบรมแนะนำตัวเองให้เพื่อน ๆ ที่อบรมด้วยกันให้รู้จักมากที่สุดภายใน 1 นาที และหลังจากนั้นนายสัตวแพทย์ทวีโภคได้บรรยาย เกี่ยวกับสถานการณ์ช้างในประเทศไทย และวิิธีการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ
Then he open the feature about elephant's behavior in Africa compair to Thai elephant which they look after.
หลังจากที่ได้ฟังการบรรยายของนายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช เกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ช้างในประเทศไทย และวิิธีการเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการเรียบร้อยแล้ว นายสัตวแพทย์ทวีโภค ได้เปิดสารคดีเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของช้างแอฟริกาให้ผู้เข้าอบรมดูและมีการซักถามเกี่ยวกับพฤติกรรมช้างที่เจ้าหน้าที่ภาคสนามดูแลอยู่
เพื่อเปรียบเทียบกับสารคดีที่ดู
On November 28, 2007,in the morning, field staff collects the elephant's data . In the afternoon each group present the data to other and exchange the information for learning together.
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550
หลังจากที่ช่วงเช้าได้ออกเก็บข้อมูลช้างเรียบร้อยแล้ว ช่วงบ่ายนำเสนอข้อมูลภาคสนามตามที่ได้ไปเก็บข้อมูลมา ซึ่งได้้นำเสนอข้อมูลของแต่ละกลุ่มให้ผู้เข้าอบรมกลุ่มอื่น ๆ รับฟังและแลกเปลี่ยนข้อมูล
Finally, the trainee has a test in the end of course.(seriously..)
ผู้เข้ารับการอบรมกำลังตั้งใจทำข้อสอบหลังจาที่ได้รับความรู้จากการอบรมแล้ว
Saturday, November 24, 2007
Elephant Toothpaste
Plai Chalard is trying to eat streblus asper leaves. Actually, he may be using the plant to clean his teeth, as ancient Thai people used to use it to clean their teeth before the advent of toothpaste.
พลายฉลาดกำลังพยายามกินใบข่อย ซึ่งเขาคงจะใช้ใบข่อยช่วยทำความสะอาดฟันเหมือนกับที่คนไทยโบราณใช้ในสมัยก่อน
Pol.Maj.Gen. Chookiat Prathipasen, Vice-Secretary General of The Foundation is greeting and talking to elephants in Sublangka.
พล.ต.ต.ชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิฯ กำลังคุยและทำความรู้จักกับช้างที่ปรับพฤติกรรมในโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ จ.ลพบุรี
Thursday, November 22, 2007
Lampang Field Staff Training Program
On November 22, 2007 the Foundation holds "The Skill in Elephant Care Training Course" for field staff and invite Mor Chalermchat Somgird and Mor Taweepoke Angkawanish consulting veterinarian of the Foundation to be trainers of this course.
ทางมูลนิธิฯ ได้จัดให้มีการอบรบเพื่อเสริมสร้างทักษะในการดูแลและปรับพฤติกรรมช้าง ใน "โครงการอบรมเพิ่มความรู้และทักษะในการดูแลช้าง" ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้จัดเป็นครั้งแรก โดยในการอบรมครั้งนี้ทางมูลนิธิฯ ได้เชิญ นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช นายสัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลช้าง และนายสัตวแพทย์เฉลิมชาติ สมเกิด อาจารย์นายสัตวแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ภาคสนามของเรา
In the morning, Mor Chalermchat explains about Thai elephant history and their biology. Our field staff are interested and are learning with intention.
ช่วงเช้า นายสัตวแพทย์เฉลิมชาติ สมเกิด ได้บรรยายเกี่ยวกับประวัติของช้างไทย ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ของช้าง ระบบการรับรู้ของช้าง ซึ่งเจ้าหน้าที่ภาคสนามให้ความสนใจและมีการจดบันทึกข้อมูลอย่างตั้งใจ
Afternoon part, Mor Taweepoke gives knowledge about the aim of the Foundation, advises staff about working practices, map reading and application. Including elephant's behavior observation and the method of reporting. By this program our staff recieves both knowledge and entertainment.
ช่วงบ่าย นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ แนะนำวิธีการปฏิบัติตนในการปฏิบัติงาน ให้เจ้าหน้าที่รู้จักพื้นที่ที่ตนเองปฏิบัติงาน วิธีการอ่าน และการใช้แผนที่ รวมถึงการสังเกตุพฤติกรรมของช้างและการจดบันทึกเพื่อการนำเสนอพฤติกรรมช้างที่ถูกต้อง ซึ่งการบรรยายในวันนี้มีทั้งความรู้ และความสนุกสนานเป็นอย่างมาก
Tuesday, November 20, 2007
Monday, November 19, 2007
In the early morning on November 17, 2007, our field staff saw Plai Sudjai had fallen down and could not stand up by himself. Finally, he can stand up by using Plai Somneuk pull him up and our field staff found a wound on his trunk. Chonsaporn called Doctor Thaweepoke to diagnose his symptom and found that he had fever and weak. Therefore Doctor gave him an injection and 7 saline solution bags. During the night our field staff was mornitoring him closely and made a bonfire for him. Today he is get over and field staff is still watching him and give him food.
จากการเฝ้าดูแลช้างของเจ้าหน้าที่ภาคสนามประจำจังหวัดลำปาง เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 พบเห็นพลายสุดใจอยู่ในท่านั่งและพยายามจะลุกขึ้นยืนแต่ไม่สามารถยืนขึ้นด้วยตัวเองได้ เจ้าหน้าที่ภาคสนามจึงได้นำพลายสมนึกมาช่วยพยุงและดึงพลายสุดใจ จนในที่สุดพลายสุดใจก็สามารถลุกขึ้นยืนได้ จึงพบว่า พลายสุดใจได้รับบาดเจ็บเป็นแผลที่งวง จึงได้ติดต่อหมอทวีโภค อังควาณิชย์ นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษาของมูลนิธิฯ เข้ามาตรวจดูอาการและบาดแผลของพลายสุดใจ จึงทราบว่า จากสภาพอากาศที่หนาวเย็นประกอบกับร่างกายที่อ่อนแอ จึงทำให้พลายสุดใจมีไข้ ในเบื้องต้นนายสัตวแพทย์จึงได้ฉีดยาและให้น้ำเกลือจำนวน 7 ถุงแก่พลายสุดใจ พร้อมทั้งแนะนำให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามก่อกองไฟใกล้ๆ บริเวณที่พลายสุดใจอยู่ เพื่อให้ร่างกายของพลายสุดใจไม่หนาวจนเกินไป จากการเฝ้าดูอาการของพลายสุดใจอย่างใกล้ชิดพบว่า พลายสุดใจมีอาการดีขึ้นในเช้าวันต่อมา และจากบาดแผลที่งวงทำให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามต้องช่วยหาอาหารมาให้ในระยะนี้ เนื่องจากพลายสุดใจไม่สามารถใช้งวงในการหาอาหารได้อย่างเต็มที่
Sunday, November 18, 2007
"Dao Krajai" TV Channel 9 Program
Friday, November 16, 2007
Since Seedor Thomyumkung get in musth during 12 - 16 November, 2007. our field staff notice
musth fluid alway come out from both sides of his temporal glands and sexual organ in the cool morning ,until the weather is getting warm , the fluid is reduce and then stop. By the way our field staff is still monitoring him.
จากการเฝ้าดูและติดตามอาการตกมันของสีดอต้มยำกุ้งระหว่างวันที่ 12-16 พฤศจิกายน 2550 จะสังเกตุได้ว่า ในช่วงเช้าที่มีอากาศเย็นบริเวณขมับของสีดอต้มยำกุ้งทั้งสองข้างจะมีน้ำมันไหลออกมาและเข้าปาก ส่วนบริเวณอวัยวะเพศมีน้ำมันไหลออกมาบ้างเล็กน้อย หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ลงบ้อง" แต่พออากาศอบอุ่นขึ้น ประมาณ 11.00 น. เป็นต้นไป พบว่า น้ำมันบริเวณขมับและอวัยวะเพศจะหยุดไหลและแห้งไป
Tuesday, November 13, 2007
Channel 9 "Exploding Star" TV Special
Khun Doughnut (Manassanun Punleatwongkhul) and Khun Ann Daokajai from "Exploding Star" TV Special, Channel 9 visit The Foundation at Sublangka and interview Khun Parichat to make a documentary "Do Good for Father".
คุณโดนัท (มนัสนัันท์ พันธ์ุ์เลิศวงศ์สกุล) และคุณแอน ดาวกระจาย จากรายการดาวกระจายเข้ามาถ่ายทำสารคดีทำความดีเพื่อพ่อหลวง โดยเข้ามาดูกิจกรรมการทำงานของมูลนิธิฯและการทำงานของเจ้าหน้าที่ภาคสนาม จ.ลพบุรี
Sunday, November 11, 2007
Drawing of an Elephant by Leonardo Da Vinci
Today it was reported that by multi-spectral infra-red imaging ,a drawing of an elephant was discovered in Leonardo Da Vinci's masterpiece: " Adoration of the Magi". It is the first known instance that Leonardo drew an elephant. It is believed that the elephant transported the Magi to Nazareth where Jesus Christ was born.
มีการรายงานเป็นครั้งแรกที่พบว่ามีการวาดภาพตัวอย่างของช้างโดย ลีโอนาโด ของภาพวาดชิ้นเอกที่ชื่อว่า "Adoration of the Magi" ตามความเชื่อที่ว่า ช้างคือพาหนะที่นำ Magi ไปยังเมือง Nazareth ซึ่งเป็นเมืองที่พระเยซูทรงประสูติ
Friday, November 09, 2007
Thursday, November 08, 2007
Thai Namthip/ Coca Cola Visits Pang Sunee
Khun Veera Akraphutiporn, Vice President Corporate Affairs of ThaiNamthip Ltd. and the party, agent from Thai Namthip Co.,Ltd. visit Pang Sunee again at camp 2 ,Mae Yao Reservoir. The elephant was released by Thai Namthip on February 8,2007.
ในวันนี้ทางบริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด นำโดยคุณวีระ อัครพุทธิพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการองค์กรสัมพันธ์ และคณะ เดินทางมาเยี่ยมพังสุนีย์ ที่ทางบริษัทไทยน้ำทิพย์ได้ทำพิธีปล่อยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550
ที่บริเวณแคมป์ 2 อ่างเก็บน้ำแม่ยาว จังหวัดลำปาง
Four Stages of Elephant Musth
Mor Taweepoke, consulting veterinarian of the Foundation, described that when an elephant was getting the musth they are 4 stages in the musth period. these 4 stages are ...
- 1st Stage - The body is very healthy and the temple is swollen.
- 2nd Stage - Musth fluid coming out from small orifices on his temple(temporal glands). At this step some elephant can control themself but some can't.
- 3rd Stage - Musth fluid comes out from his temple on his head and droozing down into his mouth and the elephant's behavior will change toward being aggressive because of the musth fluid influence.
- 4th Stage - The musth fluid come out from his sexual organ.
จากอาการตกมันของสีดอต้มยำกุ้งในขณะนี้ น.สพ.ทวีโภค อังควานิช สัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิฯ ได้อธิบายว่า ปกติอาการช้างตกมันจะเกิดขึ้น เมื่อช้างมีสภาพความพร้อมของร่างกายที่สมบูรณ์ โดยเราสามารถแบ่งการตกมันของช้างออกเป็น 4 ระยะดังนี้
- ระยะที่ 1 จะสังเกตเห็นว่า ขมับของช้างจะเริ่มมีอาการบวม
- ระยะที่ 2 บริเวณขมับช้างที่มีอาการบวม จะมีน้ำมันซึมออกมาจากต่อมน้ำมันใต้ขมับ ซึ่งในระยะนี้ช้างบางตัวก็สามารถควบคุมได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถควบคุมได้
- ระยะที่ 3 เมื่อน้ำมันที่ซึมออกมาจากระยะที่ 2 ไหลเข้าปากช้าง จะทำให้ช้างมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางตัวอาจดุร้าย เนื่องมาจากการเมาน้ำมัน
- ระยะที่ 4 คือระยะสุดท้ายของการตกมัน ช่วงนี้จะสังเกตเห็นว่า ช้างจะมีน้ำมันไหลที่อวัยวะเพศ
The Nation Newspaper Website posts "Elephant Grows the Forest"
The Nation has posted the "Elephant Grows the Forest" video animation in its website to help promote it.
Please click on the link above to enter the page.
เดอะเนชั่น ได้ลงการ์ตูนภาพเคลื่อนไหว "ช้างปลูกป่า"ลงในเว็บไซด์ของเดอะเนชั่น เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวดังกล่าว คุณสามารถเข้าชมได้
โดยคลิกลิงค์ข้างต้น
Wednesday, November 07, 2007
Pang Saitaa Passes Away with Honour
The Foundation is sadden to learn of Pang Saitaa death at around 2.20 p.m. on November 6, 2007 at Doi Pha Muang Wildlife Sanctuary, Lampang. Pang Saitaa came from Phetchaboon and arrived to camp 1 on September 7, 2007. The day before she died she had the shivers and she could not eat as normal. She probably had fever so Mor Taweepoke gave her some antibiotics and the field staff built a fire nearby to keep her warm. Khun Chonsaporn visited with her on November 6 and Pang Saitaa appeared to be well and could eat again. Only 15 minutes after Khun Chonsaporn left to return to Chiangmai, Khun Subin called to inform her that Pang Saitaa had passed away suddenly.
Mor Taweepoke, consulting veterinarian of the Foundation came with several vets and students to undertake the autopsy. Organ samples were sent for analysis and determination of cause of death.
มูลนิธิฯ รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งที่ทราบว่า พังสายตาได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2550 เวลาประมาณ 14.20 น. มูลนิธิฯ ได้ซื้อพังสายตามาจากเจ้าของเดิมซึ่งอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยพังสายตาได้เข้าร่วมกับโครงการฯ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 จากรายงานการติดตามพฤติกรรมช้าง ทำให้ทราบว่า ก่อนหน้าที่พังสายตาจะเสียชีวิตหนึ่งวันคือ วันที่ 5 พ.ย. 2550 พังสายตามีอาการหนาวสั่นและกินอาหารได้น้อย น.สพ. ทวีโภค อังควาณิชย์นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษาของมูลนิธิฯ จึงได้ฉีดยาปฎิชีวนะให้กับพังสายตา และให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ ก่อกองไฟใกล้ๆ ที่พังสายตาอยู่เพื่อให้พังสายตาอบอุ่นอยู่เสมอ และในวันที่ 6 พ.ย. 2550 คุณชลษพร เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำเชียงใหม่-ลำปาง ได้เข้าดูอาการของพังสายตาอีกครั้ง พบว่า อาการของพังสายตาดีขึ้นและสามารถกินอาหารได้มากขึ้น จึงจะเดินทางกลับสำนักงานที่เชียงใหม่ แต่หลังจากที่กำลังเดินทางออกจากแคมป์ 1 ที่ลำปาง ได้ประมาณเพียง 15 นาที ก็ได้รับโทรศัพท์จากคุณสุบิน ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ประสานงานประจำจังหวัดเชียงใหม่-ลำปาง แจ้งว่า พังสายตาได้ล้มลงและเสียชีวิตแบบกระทันหันแล้ว หมอทวีโภคและหมอเฉลิมชาติ นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิฯ จึงเข้ามาชันสูตรศพพังสายตาพร้อมกับนายสัตวแพทย์ท่านอื่น รวมถึงนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็เข้ามาช่วยทำการผ่าชันสูตรศพพังสายตาเพื่อเก็บอวัยวะบางส่วนเป็นตัวอย่างสำหรับส่งไปยังห้อง LAB เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุการเสียชีวิตของพังสายตาต่อไป
Subscribe to:
Posts (Atom)