Website

Monday, January 17, 2011

อาลัยพังบัวทอง Pang Buathong

Pang Buathong : 52-years-old Sex : female Original owner : Mr. Kamin Jaikanha, address: 64/1 Moo 1, Hangchart Lampang.
On February 10, 2000 Pang Buathong received the Royal compassion from Her Majesty Queen Sirikit to bring her joined Elephant Reintroduction program (WWF) with 8 elephants (Seedor Yali, Pang Boonma, Pang Kammoonyai, Pang Chumpli, Pang Thongbai, Pang Boonmee, Pang Kongma and Pang Buangern) to release in Doi Phamaung Wildlife Sanctuary, Lampang. After that, Pang Buathong and Pang Buangern moved to Kang Kra Chan national Park, Phetchburi Province to be adoptive mother for Pang Durian (a wild orphan elephant). Thereafter, Pang Durian joined with a herd of wild elephants so we decided to bring Pang Buangern and Pang Buathong back to Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. According to the Royal initiative of H.M. Queen Sirikit on December 9, 2006, Elephant Reintroduction Foundation brought Pang Buangern and Pang Buathong to release at Phupan National Park to be friends with Pang Bua Keaw (the last wild elephant in Phupan Forest) in the project of "Pretest releasing elephant", three elephants live well together. Until November 2010, our field staffs noticed something unusual about Pang Buathong, she was skinny and she always live in banana wood. Our field staffs reported to Mor Taweepoke Angkawanich (Mor Tom) our consulting veterinarian, he found Pang Buathong's teeth almost gone thus her dung was rough therefor she got little of nutrient. Pang Buathong had been sick for 2 months under supervision of our field staffs and veterinarians. At 04.00-05.00, on January 15, 2011 Pang Buathong passed away at Nampong Creek area, Keang Moddeang Station, Phupan National Park. She had lived in the wild for 11 years.
พังบัวทอง อายุ 52 ปี เจ้าของ เดิมชื่อ นายกมินทร์ ใจกันทา บ้านเลขที่ 64/1 หมู่ที่ 1 ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ได้เข้าสู่โครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทยภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสัตว์ป่าสากลโลก(WWF International)

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 พังบัวทองได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงรับเข้าร่วมโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ พร้อมด้วยช้างอีก 8 เชือก คือ สีดอยะลี พังบุญมา พังคำมูลใหญ่ พังชุมพี พังทองใบ พังบุญมี พังกองมาและพังบัวเงิน เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งหลังจากที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแล้วนั้นพังบัวทองได้ใช้ชีวิตอยู่ในป่าดอยผาเมืองร่วมกับพังบัวเงิน (ช้างที่ทรงปล่อยในปีเดียวกัน) และพังทุเรียน(ลูกช้างป่า) และต่อมาได้มีการย้ายพังบัวทองไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน พร้อมด้วยพังบัวเงินและพังทุเรียนลูกช้างป่าที่พังบัวทองเป็นแม่รับให้ แต่อยู่ในพื้นที่ป่าแก่งกระจานได้ไม่นานพังทุเรียนได้เข้าไปรวมโขลงกับช้างป่าทิ้งให้พังบัวทองและพังบัวเงินอยู่กันเพียงสองตัว จนกระทั่งมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้รับสานงานต่อจากโครงการสร้างโลกใหม่ให้ช้างไทย ภายใต้การสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนสัตว์ป่าสากลโลก(WWF International) เพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการอนุรักษ์ช้างไทย จึงได้นำพังบัวทองและพังบัวเงินกลับมาที่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง และในวันที่ 9 ธันวาคม 2549 มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้สนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการนำพังบัวทองและพังบัวเงินปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อเข้าไปเป็นเพื่อนกับช้างป่าที่เหลือเป็นตัวสุดท้ายในป่าภูพาน ซึ่งหลังจากนำพังบัวทองไปปล่อยในป่าภูพานก็สามารถปรับพฤติกรรมอยู่ร่วมกับช้างป่าได้เป็นอย่างดี จนกระทั่งเมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2553 เจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติประจำจังหวัดสกลนคร พบอาการผิดปกติของพังบัวทองคือร่างกายซูบผอมลงและชอบเข้าไปอยู่ในสวนกล้วยของชาวบ้าน จึงได้รายงานให้สัตวแพทย์ทราบ
นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช สัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ จึงได้เข้าดูแลสุขภาพของพังบัวทอง จากการสังเกตพบว่า พังบัวทองอายุมากแล้วฟันของพังบัวทองน่าจะเป็นชุดสุดท้ายและหลุดหายไปอยู่ไม่ครบตามจำนวนที่ควรจะเป็นจึงทำให้การบดเขี้ยวอาหารเป็นไปได้น้อยมาก สังเกตจากลักษณะของมูลที่ออกมามีความหยาบเป็นอย่างมากมองดูแล้วแทบจะไม่มีการบดเขี้ยวเลย จึงทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยจึงซูบผอมลง
นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช จึงได้ให้การดูแลโดยมีการฉีดยาบำรุงร่างกายและให้พังบัวทองกินอาหารอ่อนเป็นอาหารเสริม เช่น กล้วยน้ำหว้าสุก ต้นกล้วย มะขามเปียก ข้าวเหนียวนึ่ง พร้อมด้วยยาเม็ดวิตามินรวมเพื่อให้ร่างกายพังบัวทองแข็งแรงขึ้นและให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามดูแลอย่างใกล้ชิด จนกระทั่งเมื่อเวลาประมาณ 04.00-05.00 น. ของวันที่ 15 มกราคม 2554 พังบัวทองได้ล้มลงอย่างสงบบริเวณลำน้ำพุง หน่วยพิทักษ์ป่าแก้งมดแดง อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร และทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับอุทยานแห่งชาติภูพานได้ทำการฝังซากของพังบัวทองและประกอบพิธีการทางศาสนาให้กับพังบัวทอง
คงไม่มีใครอยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แต่ในเมื่อพังบัวทองอยู่ร่วมกับพวกเรามานานถึง 10 ปี เธอได้ใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายที่อยู่ท่ามกลางป่าธรรมชาติ ไม่มีมนุษย์คนไหนมาบังคับให้เธอทำงานตามความพอใจของมนุษย์อีกต่อไป ทำให้ชีวิตที่ต้องทุกข์ทรมานกลับมาสดใสอีกครั้งแต่แล้ววันนี้เธอหมดลมหายใจลงอย่างสงบท่ามกลางธรรมชาติในป่าภูพาน ป่าธรรมชาติที่สุดท้ายที่เธอได้ใช้ชีวิตภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ท่านได้ทรงรับพังบัวทองเข้าร่วมโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติให้พังบัวทองมีชีวิตที่สุข สดใส อีกครั้งในช่วงสุดท้ายของชีวิต

No comments:

Post a Comment