Website

Tuesday, November 30, 2010

พังบัวทอง ช้างเพศเมีย อายุ 54 ปี ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติตามโครงการทดลองปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร จากการติดตามพฤติกรรมพบว่าพังบัวทองมีอายุมากและในช่วงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 พังบัวทองมีอาการป่วย ร่างกายซูบผอมลง จากการเข้าทำการรักษาของสัตวแพทย์พบว่าพังบัวทองเป็นช้างอายุมาก พบว่าพังบัวทองเหลือฟันชุดสุดท้ายและฟันบนไม่เห็นอีกต่างหาก ช้างโดยปกติมีฟันทั้งหมด 6 ชุด ถ้าฟันของช้างเหลือชุดสุดท้ายแล้วก็จะทำให้การบดเคี้ยวอาหารน้อยลง ทำให้ร่างกายซูบผอมและรอวันที่จะล้ม ซึ่งพังบัวทองก็เป็นช้างที่อยู่ในข่ายนั้น เราจึงเพียงช่วยประคองชีวิตในบั้นปลายของพังบัวทองให้ยืนยาวเท่าที่จะช่วยได้เท่านั้น
จากการติดตามพฤติกรรมช้างในโครงการคืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี ของเจ้าหน้าที่ภาคสนามมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย นายพิทักษ์ เจริญอุดมสวัสดิ์ นายศุภชัย คีรีศรสกุลและนายอำพล เลิศดวงรัตนา พบว่าพังจารุณีช้างเพศเมีย อายุ 14 ปี มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายคือนมมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น หัวนมมีสีแดงขึ้น ซึ่งจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ภาคสนามทั้งสามคนที่เคยดูแลช้างมาคาดว่าพังจารุณีน่าจะเกิดการตั้งครรภ์(ท้องลูก) โดยขณะนี้ทั้งสามคนมีความมั่นใจประมาณ ๕๐ % เกี่ยวกับพังจารุณี จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมพบว่าเจ้าหน้าที่ภาคสนามทั้งสามคนเห็นร่องรอยการผสมพันธุ์ระหว่างพลายสมรักษ์และพังจารุณีเมื่อประมาณต้นเดือนตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการจะดูการเปลี่ยนแปลงของช้างว่ามีการตั้งท้องหรือไม่นั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12 เดือน(สำหรับช้างที่เคยท้องมาแล้ว) ส่วนช้างสาวจะต้องใช้เวลา 12-14 เดือนเป็นอย่างน้อย โดยถ้าหลังจากนี้อีกประมาณ 4-5 เดือน นมของพังจารุณีมีการยุบลงแล้วใหญ่ขึ้นจนเห็นเป็นนมเด่นชัดกว่านี้ก็สามารถบอกได้ว่าพังจารุณีท้องแน่นอน ในช่วงนี้เราก็สามารถรู้ได้จากการตรวจของสัตวแพทย์ โดยต้องทำการตรวจเลือดทุก ๆ เดือน จำนวน 4 เดือน ดูว่าพบฮอร์โมนที่บ่งบอกการเป็นสัดของช้างหรือไม่ (เนื่องจากช้างจะมีวงรอบการเป็นสัดทุก ๆ 4 เดือน) แต่ด้วยตั้งแต่พังจารุณีเข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติอย่างอิสระตลอดมา เราจึงไม่สามารถนำพังจารุณีมาตรวจเลือดได้ หลังจากนี้คงต้องใช้ความอดทนในการรอคอยอีกประมาณ 4-5 เดือน เราก็จะได้รู้กันแล้วว่าประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ภาคสนามประจำจังหวัดลพบุรีทั้งสามมีความแม่นยำมากน้อยเพียงไร และเราจะได้ลูกช้างป่าตัวแรกที่เกิดจากการปล่อยช้างบ้านตามโครงการคืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรีหรือไม่

Sunday, November 28, 2010

Elephants in Sublangka Forest. ช้างในป่าซับลังกา
Pang Lampang enjoys having bamboo in Sublangka Forest. พังลำปางกับความสุขในการกินใบไผ่ในป่าซับลังกา
Plai Chumpol พลายชุมพล

Thursday, November 25, 2010

Taweepoke Angkawanich our consulting veterinarian and Mor Warangkana Langkapin, Veterinarian check up our elephant, Pang Buathong. From checking, Pang Buathong's teeth have worn down from her old age and become difficult to digest that make her get a little of nutrient .

นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช สัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ พร้อมด้วยสัตวแพทย์หญิงวรางคณา ลังการ์พินธุ์ เข้าดูอาการป่วยของพังบัวทองที่บริเวณป่าด้านหลังหน่วยพิทักษ์ป่าแก้งมดแดง อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร พบว่าอาการป่วยของพังบัวทองเกิดจากพังบัวทองเป็นช้างที่อายุมากแล้วและจากการตรวจพบว่าฟันด้านบนของพังบัวทองได้หลุดออกหมดแล้วทำให้การบดเขี้ยวอาหารทำได้น้อยร่างกายจึงได้รับสารอาหารที่ปริมาณน้อยจึงเกิดอาการป่วยได้ง่าย

 
จ่าสิบเอกภาณุวัตร รูปทอง พร้อมคณะจากกรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์ ได้รับมอบหมายภารกิจจากผู้บัญชาการทหารบกเข้าพื้นที่โครงการคืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี โดยในครั้งนี้ทางมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้นำคณะจากจากกรมทหารราบที่ ๓๑ รักษาพระองค์ เข้าติดตามดูพฤติกรรมช้างตามธรรมชาติในป่า
Posted by Picasa

Elephant Trunk Inspires Robot Design


Elephant's trunk' could replace industrial robots

Looking to create a robotic arm that would be both strong and dexterous, German engineering company Festo has created a bionic elephant's trunk.
The company studied the trunk's structure and function to create the biomechatronic handling system, known as the Bionic Handling Assistant.
Most importantly, says Festo, the trunk can be used as a safer replacement for heavy industrial robots. In the event of a collision, the system yields immediately, it says, without becoming unstable.
The design - built using 3D printing technology - consists of three basic elements. There's a hand axis, a ball joint and the company's adaptive FinGripper, a three-fingered device that's designed to be able to grasp using little force.
The design "makes for smooth movemnt, with more degrees of freedom and an unparalleled mass/payload ratio, and enables efficient use of resources in production and operation," says Festo.
The segments of the trunk are soft and light, and covered with resistance sensors to make the robot aware of contact with the people around it.
Festo reckons the Bionic Handling Assistant will have applications in the handling industry, medical technology and agriculture - but also says it could be used in the home

Wednesday, November 24, 2010

หญ้ารูซี่ที่โตเต็มที่แล้ว สามารถปกคลุมหน้าดินบริเวณคันสระไม่ให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน

เนื่องจากทางมูลนิธิฯ ใช้หญ้ารูซี่ปลูกทดแทนเนื่องจากสภาพดินบริเวณสระเป็นดินทรายไม่เหมาะแก่การนำหญ้าแฝกมาปลูก ทางกรมพัฒนาที่ดินจึงแนะนำให้ใช้หญ้ารูซี่แทนการปลูกหญ้าแฝก

Our field staff sow ruzi grass at edge of pond1 to cover the soil and prevent soil erosion.

เจ้าหน้าที่ช่วยกันหว่านเมล็ดหญ้ารูซี่บริเวณคันสระ 1 เพื่อให้หญ้าปกคลุมผิวดินป้องกันการพังทลายของหน้าดิน

Scientific name : Brachiaria ruziziensis R. Germ. and C.M. Evrard Common names: ruzi grass, Congo grass,

It is usefull for erosion control

ประโยชน์ของ หญ้ารูซี หรือ หญ้าคองโก (Brachiaria ruziziensis)

เป็นหญ้า กอสูง ๕๐-๖๐ เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบหญ้ามอริชัส ลำต้นเล็กกว่าและตัน ช่อดอกเป็นแฉกเรียงกัน ๒ แถว แหล่งดั้งเดิมพบในทวีปแอฟริกา เขตร้อนแถบประเทศคองโก ติดเมล็ดดีมาก ติดเมล็ดปีละครั้งในช่วงเดือนตุลาคม ขึ้นได้ดีในที่ดอน ใช้ปลูกทำทุ่งหญ้า ทนการเหยียบย่ำได้ดี

Our field staff are stimulating Plai Somnuk 's seminal fluid system. เจ้าหน้าที่ภาคสนามทดลองกระตุ้นพลายสมนึกให้คุ้นเคยก่อนที่จะทำการรีดน้ำเชื้อ
Our field staffs hide to take pictures of our elephants (Pang Gonthong and Pang Saithong) at Mea Nai Creek area. เจ้าหน้าที่ภาคสนามแอบซุ่มถ่ายภาพของพังก้อนทอง และพังสายทอง ที่ปล่อยอิสระอยู่ในป่าใกล้ๆ ลำห้วยแม่ใน
View of pond 1 from Sala. ภาพถ่ายสระ 1 หลังจากที่ขุดลอกเสร็จแล้วจากด้านบนศาลาอเนกประสงค์

Tuesday, November 23, 2010

Pang Buangen visits her elephant friend, Pang Buathong (an elephant who was sick), Pang Buathong looks happy. พังบัวเงินมาเยี่ยมพังบัวทอง:เนื่องจากพังบัวทองมีอาการไม่สบายเจ้าหน้าที่ภาคสนามจึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิดพังบัวเงินจึงมาเยี่ยมทำให้พังบัวทองดูสดชื่นขึ้น
Kitima Yuthavong.MD, Chief Executive Officer Phamaceutical Research & Manufacturers Association donates 10,000 baht to Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary-General of The Foundation to support our working at Elephant Reintroduction Foundation, Bangkok on November 23, 2010. พญ. กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ บริจาคเงิน 10,000 บาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ โดยมี คุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติเป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานกรุงเทพ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553

Saturday, November 20, 2010

 
 
วันที่ 17-19 พฤศจิกายน 2553 มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จัดกิจกรรมโครงการสอนน้องรักษ์ป่าให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านซับชมพู อำเภอภักดีชุมพล จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับเขตฯซับลังกา เพื่อให้เยาวชนมีจิตสำนึกรักป่าและช่วยดูแลธรรมชาติสืบต่อไป
Posted by Picasa

Tuesday, November 16, 2010

Mor Wichet Yathongchai, veterinarian officer 5, Livestock development office of Sakon Nakorn Province checks up Pang Buathong at Phupan National Park. นายสัตวแพทย์วิเชฎฐ์ ยาทองไชย สัตวแพทย์ 5 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร เข้าดูอาการพังบัวทองพร้อมทั้งทำการรักษาพังบัวทอง

Monday, November 15, 2010

Our field staff takes a picture of elephants (Pang Sunee, Pang namchok, Pang Doungdao and Pang Jintrara) in Doi Phamaung Wildlife Sanctuary, they are free roaming in the forest. เจ้าหน้าที่ภาคสนามแอบซุ่มถ่ายรูปกลุ่มช้างพังดวงดาว พังสุนีย์ พังนำโชค และพังจินตหรา ปล่อยให้ใช้ชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ

Dredged Pond 1

After dredging pond 1, it can store a lot of water for elephants and animals at Lampang Camp.

การขุดลอกสระ 1 เสร็จสมบูรณ์แล้วและสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้งานได้

Pang Buathong, one of female elephants in project "Pretest Releasing Elephant Project" at Phu Pan National Park was sick, our staff observe her symptom to report to veterinarian. พังบัวทอง ช้างในโครงการทดลองปล่อยช้างคืนสู่ป่า อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร มีอาการป่วย ร่างกายซูบผอม เจ้าหน้าที่จึงเข้าดูอาการเพื่อนำข้อมูลรายงานให้สัตวแพทย์เข้าทำการรักษาต่อไป

Saturday, November 13, 2010

Khun Parichart Jankrut, our coordinator at Lopburi Province gives a knowledge to students about elephant in the project of special military during November 10-12, 2010 at Sublangka Wildlife Sanctuary. ในวันที่ 10-12 พฤศจิกยน 2553 คุณปาริชาติ จันทร์ครุฑ เจ้าหน้าที่ประสานงานภาคสนามจังหวัดลพบุรีได้ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับช้างแก่เยาวชนในโครงการเยาวชนรักษ์ป่า รุ่นที่ 3 ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี ซึ่งได้มาจัดกิจกรรมให้กับเยาวชนในพื้นที่อำเภอลำสนธิจังหวัดลพบุรีเพื่อให้เยาวชนตระหนักรักษ์ป่าต่อไป

Wednesday, November 10, 2010

Elephant Reintroduction Foundation has dredged sediment in Pond 1 (In font of Sala) to prepare for the next summer for elephants and wild animals in Doi Phamaung Wildlife Sanctuary. ทางมูลนิธิฯ กำลังนำรถแม็คโครมาขุดลอกสระ 1 ที่ตื้นเขินเนื่องจากเกิดการทับถมของดินทรายที่ไหลเข้ามาในสระ 1 เพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับฤดูร้อนในปีหน้าที่จะถึงนี้

Monday, November 08, 2010

SCG donated 10 Million Baht

Dr. Sanoh Unakul, Chairman of Siam Cement Foundation donate 10,000,000 baht to Dr. Sumet Tantivejkul, Chairman of Elephant Reintroduction Foundation to support our working at Sublangka Wildlife Sanctuary.
ดร.เสนาะ อูนากูล กรรมการบริษัทและประธานกรรมการบริจาคบริษัท SCG และผู้ถือหุ้นบริษัท SCG มอบเงินสนับสนุน "โครงการ SCG คืนช้างสู่ธรรมชาติ" โดยมี ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติพร้อมด้วยคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิฯและกรรมการมูลนิธิฯ รับมอบเงิน ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี

Thursday, November 04, 2010

Elephant Brain

Brain of Pung Boonsom (61 years old), died and kept in formaline solution since December 2009, was sent to Faculty of Medicine Chiang Mai University with other 3 elephant brains. These four elephant brains will be studied in the research project “comparative anatomy and histology of elephant, human and other mammal brains”, which was co-operated by the elephant reintroduction foundation, Faculty of Veterinary Medicine and Faculty of Medicine, Chiang Mai University, National Elephant Institute, Forest Industry Organization with the financial support by the Siam Cement Group. Thereafter, Pubg Boonsom’s brain will be performed by “plastination” method for long-term keeping and non hazardous odor at the museum for further education. สมองของช้างพังบุญสม (61 ปี) ที่เสียชีวิตเมื่อเดือนธันวาคม 2552 แล้วนำมาเก็บในฟอร์มาลีนเพื่อให้คงสภาพและกันการเน่าเสีย ถูกนำส่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับสมองของช้างอื่นๆอีก 3 ชิ้น ใน "โครงการศึกษากายวิภาคศาสตร์และจุลกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบสมองของช้าง มนุษย์ และ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอื่นๆ" ซึ่งเป็นโครงการวิจัยภายใต้ความร่วมมือของ มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ คณะแพทยศาสตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โดยการสนับสนุนของเครือซีเมนต์ไทย หลังจากนั้นสมองของช้างพังบุญสมจะถูกกำซาบด้วยสารพลาสติก (plastination) ทำให้สามารถเก็บไว้ได้นาน โดยไม่มีกลิ่นเหม็นของฟอร์มาลีนที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและเก็บในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาต่อไป
Posted by Picasa
Our field staff at Lampang Camp is recording a documentary about elephant's behavior.
เจ้าหน้าที่ภาคสนามกำลังถ่ายวีดีโอเก็บพฤติกรรมของพังบุญมีน่านเพื่อศึกษาพฤติกรรมของช้างใน "โครงการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออกนอกพื้นที่ป่า ของช้างที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ"

Pang Boonmeenan (an elephant in Doi Phamaung Forest) comes out from the forest to have some rice in a field.

พังบุญมีน่าน หลุดออกมากินข้าวในนาข้าวของชาวบ้านหมู่บ้านเวียงทอง ต.เมืองยาว จ.ลำปาง ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกำลังตั้งท้อง

Wednesday, November 03, 2010

Plai Srisakorn keeps himself out of sight in a bush when he saw our field staff. พลายศรีสาครแอบซุ่มหลังพุ่มไม้เพื่อลงกินน้ำในลำสนธิ

We want to survey Sublangka.

Pang Prayat or Pang Dokkaow leads Pang Nong May survey around the forest. พังประหยัด(พังดอกขาว)พาพังน้องเมย์เดินเที่ยวสำรวจป่าซับลังกา
Pang Lampang (our elephant at Lopburi Province Branch) poses to take a picture at Sublangka Wildlife Sanctuary. พังลำปางโชว์หุ่นความงามท่ามกลางป่าซับลังกา
Pang Duern lets Pang Dao to find their foods in Sublangka Forest. พังเดือนพาพังดาวลูกช้างสาวกินอาหารในป่าซับลังกา

Monday, November 01, 2010

Pang Sunee leads Pang Dokrak and Pangkanya walk along Mae Pon Creek to find Pang Valentine(their elephant's friend). พังสุนีย์พาพังดอกรัก และพังกันยาเดินลัดเลาะตามลำห้วยแม่ป๋อนเพื่อไปตามหาพังวาเลนไทน์

Pang Leelad trys to walk to mountain ridge at Doi Phamaung Forest. พังลีลาศกำลังพยายามเดินขึ้นสันเขาในป่าดอยผาเมือง

Plai Somnuk (a bull elephant at Doi Phamaung Wildlife Sanctuary) is fat and haelthy, he lives at Mae Yao Creek area. พลายสมนึกร่างกายอ้วนท้วนมาก ปรับพฤติกรรมอยู่บริเวณลำห้วยแม่ยาว
Plai Sumet and Pang Sawang are living at Nachangpae Creek area. Nachangpae creek bayou is one of Mae Yao creek. พลายสุเมธ และพังสว่างหากินอยู่บริเวณลำห้วยนาช้างแพ้ สาขาลำห้วยแม่ยาว

Our field staff are constructing camp1's road which it was damage by erosion. เจ้าหน้าที่ภาคสนามช่วยกันซ่อมแซมถนนทางเข้าแคมป์ 1 ที่ถูกน้ำป่าไหลเซาะ เพื่อให้รถสามารถเดินทางผ่านเข้าไปในแคมป์ได้