Website

Tuesday, May 26, 2009

Our field staff met a crested serpent eagle at treetop in Sublangka Wildlife Sanctuary. เจ้าหน้าที่ภาคสนามพบเหยี่ยวรุ้งบนยอดไม้ในป่าซับลังกา

Common Name: Crested Serpent Eagle Binomial Name : Spilornis cheela The Crested Serpent Eagle can be found in a large geographical region from South Asia, including Pakistan, India and Sri Lanka, to Southeast Asia, extending to southern China and Indonesia. This forest bird nests in treetops near fresh water. Its nests are constructed with sticks and contain not more than a single egg at a time. The Crested Serpent Eagle is a medium large raptor at about 55-75cm in length. Adults have dark brown upperparts and head, and have a hooded appearance at rest. The underparts and underwing coverts are pale brown. In soaring flight, the broad wings are held in a shallow V. The tail and underside of the flight feathers are black with broad white bars. When perched, they appear large headed and owl-like due to the shape of the face and positioning of the eyes. The call is a distinctive Kluee-wip-wip with the first note being high and rising. They call a lot in the late mornings from perches or as they rise on the thermals in the mornings. Sexes are visually similar, but young birds have a whitish head, underparts and underwing, the latter showing darker barring. The Crested Serpent Eagle, as its English and scientific names suggest, is a specialist reptile eater which hunts over woodland for snakes and lizards.(http://en.wikipedia.org/wiki/Crested_Serpent-eagle)

เหยี่ยวรุ้ง ชื่อสามัญ : Crested Serpent Eagle ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela ลักษณะทั่วไป เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง - ใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 51 - 71 เซนติเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน คือ หัวและขนหงอน ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดเป็นสีดำลายซีดสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยเฉพาะที่ปีกจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและมีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ตัวที่โตเต็มวัยขณะบินจะเห็นแถบกว้างสีขาวที่หาง และใต้ปีกชัดเจน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดีย จีน ไหหลำ ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย ในไทยพบได้ทุกภาคในปริมาณปานกลาง เหยี่ยวรุ้งชอบกินงูมาก รวมทั้งงูพิษด้วย นอกจากนี้ยังกินพวกนกเล็กๆ และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ อีกด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าที่ราบและตามป่าบนยอดเขาใกล้ ๆ แหล่งน้ำต่าง ๆ มักจะพบเห็นมันบินร่อนเป็นวงกลมอยู่ในระยะสูงมากคอยหาอาหาร บินที่ระดับ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เหยี่ยวรุ้งผสมพันธุ์ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน วางไข่ ครั้งละ 1 ฟอง ไข่สีครีม สีขาวแกมเหลือง หรือสีขาวแกมเขียว ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ นาน 26 - 28 วัน สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แหล่งข้อมูล : www.moohin.com/animals/birds-139.shtml

No comments:

Post a Comment