Website

Sunday, May 31, 2009

Our field staff, Lopburi Camp (Mr.Supphachai and Mr.Phitak) reported that our bull elephant at Sublangka Wildlife Sanctuary, Plai Sila was in musth, he become stubborn and he was fretful, his temporal gland of the forehead swelled and the secretion flowed out from the temporal gland.

เจ้าหน้าที่ภาคสนามลพบุรี (นายศุภชัย คีรีศรีสกุลและนายพิทักษ์ เจริญอุดมสวัสดิ์) บอกว่าพลายศิลาเริ่มมีอาการตกมัน เนื่องจากบริเวณขมับตรงต่อมน้ำมันบวมและมีน้ำมันซึมออกมา ประกอบกับพลายศิลามีอาการหงุดหงิดระมัดระวังตัวและไม่ยอมให้เข้าใกล้ ซึ่งแตกต่างจากลักษณะนิสัยในเวลาปกติ

Tuesday, May 26, 2009

Plai Chalad: A young bull elephant post for a photograph in Sublangka Wildlife Sanctuary, Lopburi. พลายฉลาดหนุ่มน้อยในป่าซับลังกา
Pang Thongkam and Pang Narak are playing mud after raining in the forest last night. หลังจากที่เมื่อคืนมีฝนตกในป่าซับลังกา พังทองคำและพังน่ารักเล่นโคลนจนเลอะเทอะไปทั้งตัว

Our field staff met a crested serpent eagle at treetop in Sublangka Wildlife Sanctuary. เจ้าหน้าที่ภาคสนามพบเหยี่ยวรุ้งบนยอดไม้ในป่าซับลังกา

Common Name: Crested Serpent Eagle Binomial Name : Spilornis cheela The Crested Serpent Eagle can be found in a large geographical region from South Asia, including Pakistan, India and Sri Lanka, to Southeast Asia, extending to southern China and Indonesia. This forest bird nests in treetops near fresh water. Its nests are constructed with sticks and contain not more than a single egg at a time. The Crested Serpent Eagle is a medium large raptor at about 55-75cm in length. Adults have dark brown upperparts and head, and have a hooded appearance at rest. The underparts and underwing coverts are pale brown. In soaring flight, the broad wings are held in a shallow V. The tail and underside of the flight feathers are black with broad white bars. When perched, they appear large headed and owl-like due to the shape of the face and positioning of the eyes. The call is a distinctive Kluee-wip-wip with the first note being high and rising. They call a lot in the late mornings from perches or as they rise on the thermals in the mornings. Sexes are visually similar, but young birds have a whitish head, underparts and underwing, the latter showing darker barring. The Crested Serpent Eagle, as its English and scientific names suggest, is a specialist reptile eater which hunts over woodland for snakes and lizards.(http://en.wikipedia.org/wiki/Crested_Serpent-eagle)

เหยี่ยวรุ้ง ชื่อสามัญ : Crested Serpent Eagle ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Spilornis cheela ลักษณะทั่วไป เป็นเหยี่ยวขนาดกลาง - ใหญ่ ขนาดลำตัวประมาณ 51 - 71 เซนติเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน คือ หัวและขนหงอน ซึ่งมีลักษณะคล้ายพัดเป็นสีดำลายซีดสีขาว ลำตัวด้านบนเป็นสีน้ำตาลเข้ม โดยเฉพาะที่ปีกจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่ ลำตัวด้านล่างเป็นสีน้ำตาลและมีลายจุดสีขาวกระจายอยู่ทั่วไป ตัวที่โตเต็มวัยขณะบินจะเห็นแถบกว้างสีขาวที่หาง และใต้ปีกชัดเจน ถิ่นอาศัย, อาหาร พบในอินเดีย จีน ไหหลำ ไต้หวัน พม่า ไทย อินโดจีน มาเลเซีย ในไทยพบได้ทุกภาคในปริมาณปานกลาง เหยี่ยวรุ้งชอบกินงูมาก รวมทั้งงูพิษด้วย นอกจากนี้ยังกินพวกนกเล็กๆ และสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ อีกด้วย พฤติกรรม, การสืบพันธุ์ อาศัยอยู่ตามป่าที่ราบและตามป่าบนยอดเขาใกล้ ๆ แหล่งน้ำต่าง ๆ มักจะพบเห็นมันบินร่อนเป็นวงกลมอยู่ในระยะสูงมากคอยหาอาหาร บินที่ระดับ 1,500 เมตร จากระดับน้ำทะเล เหยี่ยวรุ้งผสมพันธุ์ประมาณเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน วางไข่ ครั้งละ 1 ฟอง ไข่สีครีม สีขาวแกมเหลือง หรือสีขาวแกมเขียว ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ นาน 26 - 28 วัน สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 แหล่งข้อมูล : www.moohin.com/animals/birds-139.shtml

Our field staff at Lampang Camp are painting structures of Sala to prevent corrosion and oxidation. ช่วงนี้ฝนไม่ตก เจ้าหน้าที่จึงช่วยกันเร่งขัดสีโครงเหล็ก และทาสีรองพื้นกันสนิมก่อนที่จะทาสีจริง
A beautiful scenery at Camp3, Mae Poo Reservoir, Lampang. ภาพถ่ายบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำแม่ปู แคมป์ 3 จังหวัดลำปาง
Plai Phat 's Musth is over now so our field staff lead him to stay at pond 2.
พลายพัทธ์ก็เช่นเดียวกัน หลังจากที่หายตกมันแล้ว เจ้าหน้าที่ก็ปล่อยให้พลายพัทธ์หากินอยู่บริเวณสระ 2

Pang Saithong and Pang Gonthong survey through the forest to find variety of foods and some water. They go down to Maepon Creek to have some water there. Our 2 elephants is healthy and fat

พังสายทองก้อนทอง ขณะนี้เดินทางลงมาบริเวณลำห้วยแม่ป๋อน บริเวณเขตป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง ช้างทั้งสองสุขภาพดี และมีร่างกายอ้วนท้วน

Monday, May 25, 2009

Khun Phimsiri Jantaraj and surveying team from CAT Telecom visit The Foundation at Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary for preparing the relaeasing elephant ceremony. ทางคุณพิมพ์ศิริ จันทราช หัวหน้าหน่วยการตลาด (ลำปาง) จากบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) นำทีมจากคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมภาพลักษณ์บริษัท กสท. ได้เข้าดูพื้นที่ ในการทำพิธีปล่อยช้างคืนสู่ธรรมชาติ ที่ลานพิธีแคมป์ 1
Dr. Yodying Dhebtaranon, Director of Bacteria and Virus Research Center donates 2 bears to Pol.Maj.Gen. Chookiat Prathipasen, Director and Vice-Secretary General of Elephant Reintroduction Foundation to release to wild after rehabilitation. มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ได้รับบริจาคหมีควาย จำนวน 2 ตัว (ผู้ 1 ตัว และ เมีย 1 ตัว) จาก ดร. ยอดยิ่ง เทพธรานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแบคทีเรียและไวรัส มหาชัยโดยพล.ต.ต. ชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติเป็นผู้รับมอบ เพื่อนำกลับคืนสู่ธรรมชาติหลังจากผ่านการปรับพฤติกรรม
Villagers learn about elephant's behaviour and protection from our field staff in Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary. เจ้าหน้าที่ภาคสนามให้ความรู้กับชาวบ้านเกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมช้าง เพื่อให้เข้าใจ และช่วยกันดูแลช้างที่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ในโครงการพิทักษ์ป่าและช้าง
Plai Sumet have a lot of young bamboo in the forest. ช่วงนี้อาหารในป่าอุดมสมบูรณ์ พลายสุเมธกำลังกินยอดใบอ่อนของต้นไผ่อยู่
Our field staff hide to watch Pang Sunee and Plai Mitri are standing side by side. เจ้าหน้าที่ภาคสนามแอบซุ่มดูพังสุนีย์ และพลายไมตรี กำลังคลอเคลียกันในป่าดอยผาเมือง
Pang Namfon is fat now. พังน้ำฝนอ้วนท้วนสมบูรณ์
Plai Phalang and Plai Mitri are playing together in Maeyao Creek. พลายพลัง และพลายไมตรี หยอกล้อกันในลำห้วยแม่ยาว

Sunday, May 24, 2009

Plai Chalard and Seedor Somchai challenge each other by Pang Dao, Pang Narak and Pang Thongkam are viewer. พลายฉลาดและสีดอสมชายกำลังประลองกำลังกัน โดยมีพังดาว พังน่ารักและพังทองคำยืนดูการประลองกำลังทั้งสองตัว

Saturday, May 23, 2009

Mor Kwan (Nattar Maneewan) our veterinarian of The Foundation makes a good relationship with our elephants at Sublangka Wildlife Sanctuary. สพ.ญ.นัฏฐา มณีวรรณ (หมอขวัญ) สัตวแพทย์ประจำมูลนิธิฯ เข้าทำความรู้จักกับช้างในโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี

Thursday, May 21, 2009

During our field staff at Phuphan Substation tracking elephants ,they noticed a wound with pus of Pang Ploy so they clean her wound.

จากการติดตามพฤติกรรมช้างในป่าภูพาน เจ้าหน้าที่ภาคสนามพบว่าฝีบริเวณขาหน้าขวาของพังพลอยมีหนองเกิดขึ้นจึงได้เข้าทำการล้างแผลและใส่ยาให้กับพังพลอย

Tuesday, May 19, 2009

In the afternoon, the meeting visit elephants and observe elephant's behavior which it is one of activity in the training course. ช่วงบ่ายก็ได้นำชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการเข้าไปดูสถานที่จริง โดยให้สังเกตุพฤติกรรมช้างตามหลักสูตร

On May 19, 2009, The Foundation (Lampang) held "Forest and Elephants Protection Traing Course" to PR our foundation to people who live around Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary by Khun Chonsaporn, Coordinator of Chaingmai-Lampang Office tells about objectives and background of the foundation and Khun Phajon Jomtan, Head of Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary give knowledge about elephants and the forest conservation.
ทางมูลนิธิฯ ได้มีการจัดโครงการพิทักษ์ป่าและช้าง โดยคุณชลษพร เจ้าหน้าที่ประสานงานมูลนิธิฯ ประจำเชียงใหม่-ลำปาง อธิบายถึงความเป็นมา วัตถุประสงค์ และการดำเนินงานของมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ โดยคุณผจญ จอมทัน หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ร่วมให้ความรู้กับชาวบ้านที่อยู่รอบๆ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ทั้งจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน เพื่อให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ถึงชีวิต ความเป็นอยู่ พฤติกรรมของช้าง รวมถึงความรู้เกี่ยวกับช้างในป่า เพื่อที่จะให้ชาวบ้านรอบๆ พื้นที่ดอยผาเมือง เข้าใจ และช่วยกันดูแลรักษาทั้งป่าและช้างและอยู่ร่วมกันได้โดยไม่มีความขัดแย้งต่อกัน

Monday, May 18, 2009

Pang Namfon goes out from woods to drink some water in Mae Yao Creek, Lampang Camp2. พังน้ำฝน ลงมากินน้ำตามลำห้วยแม่ยาว

Brumese Grape (Mafai)

Our field staff met Brumese grape (Mafai) while they were tracking elephants in Doi Pha Maung Forest, Lampang. เจ้าหน้าที่พบมะไฟป่าสีแดง ขณะที่เข้าไปติดตามช้างในป่าดอยผาเมือง

The Burmese grape (Baccaurea ramiflora, Family: Phyllanthaceae) is a slow growing evergreen tree growing to 25 m, with a spreading crown and thin bark. It is found throughout Asia, most commonly cultivated in India and Malaysia. It grows in evergreen forests on a wide range of soils. The fruit is harvested and used locally, eaten as a fruit, stewed or made into wine; it is also used medicinally to treat skin diseases. The bark, roots and wood are harvested for medicinal uses. The fruit is oval, colored yellowish, pinkish to bright red or purple, 2.5-3.5 cm in diameter, glabrous, with 2-4 large purple-red seed, with white aril.(http://en.wikipedia.org/wiki/Burmese_grape)

มะไฟป่า ชื่ออื่นๆ : แซเครือแซ มะไฟ ส้มไฟ ชื่อพฤกษศาสตร์ : Baccaurea ramiflora Lour. วงศ์ : EUPHORBIACEAE มะไฟป่าเป็นไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ใบ เรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปรีแกมใบหอก โคนใบสอบ ขอบใบเรียบหยักตื้นๆ ปลายใบเรียวแหลม ดอกช่อ สีชมพูอมเหลืองหรือชมพูอ่อน ผล ค่อนข้างทรงกลมหรือรี ออกดอกประมาณเดือนมีนาคม การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ประโยชน์ ผลสุก กินได้สดๆ รสเปรี้ยวอมหวาน พบมะไฟป่าทั่วทุกภาคของไทย ต่างประเทศพบที่ อินเดีย จีนตอนใต้ ลาว กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทร

This is a road from Camp1 to Sala (building area) in the forest. The road was flooded which it 's difficult to go to the building area.
ถนนทางเข้าไปพลับพลา (แคมป์ 1) ที่ทางมูลนิธิได้ทำไว้เกิดการทรุดตัว และถูกน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากฝนตกหนักทำให้การเดินทางเข้าไปก่อสร้างศาลาเอนกประสงค์เกิดความลำบาก

Our field staff continue cementing the column of Sala again.

จากนั้นก็ช่วยกันเทเสาปูนต่อ

A couple of heavy raining day makes construction of Sala delay, our field staff drain the water in the hole and start working again.
เนื่องจากฝนตกหนักมาหลายวัน ทำให้การก่อสร้างพลับพลาล่าช้า เจ้าหน้าที่ภาคสนามจึงช่วยกันเอาน้ำที่ขังอยู่ในหลุมที่จะหล่อเสาปูนออกก่อนที่จะทำการก่อสร้างต่อ

Saturday, May 16, 2009

Our field staff (Phu Phan Substation) was reported that our elephant: Pang Nimnual had gone to the edge of forest near the villager's farm at Sangkro, Phu Phan District (green point in the map). Then our field staff hurried out to elephant's area and led her back to the forest (white point) .
เจ้าหน้าที่ภาคสนามจังหวัดสกลนครได้รับแจ้งว่าพังนิ่มนวลเข้าใกล้พื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้านตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร จึงได้พาพังนิ่มนวลกลับมาให้อยู่ในพื้นที่หน่วยพิทักษ์ป่าลำน้ำพุง อุทยานแห่งชาติภูพาน ภาพพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่ลง Google Earth แสดงพิกัดการหากินของช้างพังนิ่มนวลในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร โดยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการเปลี่ยนพื้นที่หากินในป่าภูพาน คือ เมื่อ 07/05/09 (จุดสีแดง)พบพังนิ่มนวลอยู่ที่ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ แต่เมื่อผ่านไป 1 สัปดาห์ (15/05/09 จุดสีเขียว)พังนิ่มนวลได้เปลี่ยนพื้นที่หากินมาอีกฝั่งหนึ่งจนเจ้าหน้าที่ภาคสนามต้องพากลับให้มาอยู่บริเวณหน่วยพิทักษ์ป่าลำน้ำพุง อุทยานแห่งชาติภูพาน(จุดสีขาว) เพื่อไม่ให้รบกวนชาวบ้าน

Wednesday, May 13, 2009

Khun Premjith Hemmawath, Manager of Elephant Reintroduction Foundation and Vet.Nattar Maneewan, Veterinarian of The Foundation visit Pattaya to look for elephants to join our project. In the elephant's selection process, Mor Kwan takes blood specimen for testing.
วันที่ 13 พ.ค. 2552 คุณเปรมจิตร เหมวัฒน์ ผู้จัดการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติและ สพ.ญ.นัฏฐา มณีวรรณ (หมอขวัญ)สัตวแพทย์ประจำมูลนิธิฯ เดินทางไปหาช้างเพื่อเข้าร่วมโครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติของมูลนิธิฯ ที่ พัทยา โดยหมอขวัญได้เจาะเลือดช้างเพื่อนำมาตรวจผลประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อต่อไป