Website

Saturday, January 27, 2007

Elephant Dung- Reforestation Project : โครงการช้างปลูกป่า

Khun Premjit reviews the Elephant Dung Research Project at Sublangka Wildlife Sanctuary. คุณเปรมจิตรกำลังดูแปลงค้นคว้าในโครงการช้างปลูกป่าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาจ. ลพบุรี

Thursday, January 25, 2007

Our Field staff is setting up the electric fence which prevents wildlife from entering the camp, Lampang.

เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ กำลังติดตั้งแนวเขตรั้วไฟฟ้าเพื่อป้องกันสัตว์ป่าเข้ามาในแคมป์ที่ห้วยแม่ป๋อน จ. ลำปาง

Tuesday, January 23, 2007

Dr. Mattana Srekrachang, Senior Researcher visits the Foundation in Bangkok and chats with Khun Sivaporn, Secretary-General of the foundation about "The Thai National Elephant Day Project".

ดร. มัทนา ศรีกระจ่าง ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ C 8 มาเยี่ยมชมสำนักงานมูลนิธิฯ (กรุงเทพฯ) และพูดคุยกับคุณศิวะพร เลขาธิการฯ เกี่ยวกับโครงการ "วันช้างไทย"

Monday, January 22, 2007

Khun Chookiat Pradipasen, Deputy Secretary- General of the Foundation, tests his bedding accommodations at the Mae Pon Camp, Lampang. คุณชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิฯ กำลังทดสอบการกางมุ้งบนเตียงนอนในที่พักของแคมป์แม่ป๋อน จ. ลำปาง

Sunday, January 21, 2007

Khun Pichai Chanvirachart, Chairman of Field Operations, and Khun Chookiat Pradipasen, Deputy Sec- Gen,. visits with the Foundation field staff in Lampang. คุณพิชัย ฉันทวีระชาติ ที่ปรึกษามูลนิธิฯ และคุณชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาฯ เดินทางไปเยี่ยมเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ ที่จ. ลำปาง

Salt Lick Test การทดสอบการทำโป่งเทียม

Clockwise from top: On the embankment of the Mae Pon Creek are several holes dug by elephants searching for minerals. Sivaporn instructs field staff in mixing three samples of salt lick: 1. only salt crystals, 2. salt and chemical mixture , and 3, salt and crushed animal lick bar. Khun Chookiat takes a sample and he likes it. The three samples are filled in three holes on the embankment and watered. The following day Plai Sutin and Plai Suthas are observed eating the salt and rejecting the crushed animal lick. Afterwards they quickly process to feed themselves with a lot of grass to alleviated the saltiness in their mouth.

จากภาพบนแสดงให้เห็นการทดลองทำโป่งเทียมจากแร่ธาตุให้ช้าง บริเวณริมห้วยแม่ป๋อน ภายใต้การแนะนำจากคุณศิวะพร โดยให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ทดลองผสมโป่งเทียมทั้ง 3 แบบ, แบบที่1. ใส่เกลืออย่างเดียว แบบที่ 2. ใส่เกลือและสารอาหารแบบเป็นผง และแบบที่ 3. ใส่เกลือกับสารอาหารแบบเป็นก้อนแล้วทุบให้แตกเป็นก้อนเล็กๆ ภาพต่อมาคุณชูเกียรติทดสอบรสชาติของเกลือ โดยการทดลองทั้ง 3 แบบนั้นต้องผสมน้ำลงไปด้วย จากการเฝ้าสังเกตุในวันต่อมาพบว่าพลายสุทินและพลายสุทัศน์มากินเกลืออย่างเดียวและไม่ยอมกินแร่ธาตุอื่นๆที่ผสมอยู่ หลังจากนั้นไม่นานนักช้างทั้ง 2 ตัวก็ออกไปหาหญ้ากินเพื่อลดความเค็มของเกลือที่กินเข้าไป

Foundation's Camp at Mae Yaow Reservior in Lampang

We visited the old Camp of the Elephant Reintroduction Project located at Mae Yaow.
ภาพแคมป์ 2 ของมูลนิธิฯ ที่ จ. ลำปาง สร้างไว้เพื่อดูแลช้าง ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณอ่างเก็บน้ำแม่ยาว ตั้งแต่สมัยที่โครงการ "คืนช้างสู่ธรรมชาติ" ยังอยู่ภายใต้การดูแลของ กองทุนสัตว์ป่าโลก (สำนักงานประเทศไทย) หรือ WWF (Thailand)

Wild Boar (Sus scrofa)

Seven wild boar donated from Huay Kha Kaeng Wildlife Sanctuary are released at Mae Pon, Lampang.
The body of the wild boar is compact, the head is large, the legs relatively short. The fur consists of stiff bristles and usually finer fur.The animals are usually nocturnal, foraging from dusk until dawn but with resting periods during both night and day. They eat almost anything they come across, including nuts, berries, carrion, roots, tubers, refuse, insects, and small reptiles.
คุณสงบ วงศ์กระแส ชาวบ้านจากจ.นครสวรรค์ ได้บริจาคหมูป่าจำนวน 7 ตัว เข้าร่วมโครงการ "คืนความสมดุลย์สู่ธรรมชาติ" ของมูลนิธิฯ โดยขณะนี้ทางมูลนิธิฯ ได้ปล่อยหมูป่าจำนวนดังกล่าวเข้าสู่ป่าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จ. ลำปางไปเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2550

Friday, January 19, 2007

Our Lopburi field staff have taken a rare picture of a fox in Sublangka Wildlife Sanctuary on 18 January, 2007.

เจ้าหน้าที่ภาคสนามได้ถ่ายภาพสุนัขจิ้งจอก ซึ่งพบโดยบังเอิญและมีโอกาสพบน้อยมากในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ. ลพบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2550

Thursday, January 18, 2007

Our Field staff is setting up the "just enough" electric fence about 800 m. long on the east side of Pang-Hoey Mountain, at Sublungka Wildlife Sanctuary, Lopburi. เจ้าหน้าที่ภาคสนามกำลังทำรั้วไฟฟ้าแบบพอเพียงด้านทิศตะวันออก(เขาพังเหย)ระยะทางประมาณ 800 เมตร ที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี
Our Lampang field staff is bringing banana tree to Plai Somluk who is in musth and can not be released for free roaming.
เจ้าหน้าที่ภาคสนามจ. ลำปาง กำลังนำต้นกล้วยไปให้พลายสมรักกินเนื่องจากพลายสมรักษ์ตกมันจึงไม่สามารถปล่อยให้หาอาหารเองได้

Plai Somluk is in musth.

พลายสมรักกำลังตกมัน

TOT staff is setting up the IPSTAR satellite internet link at our Sublangka Wildlife Sanctuary in Lopburi.

เจ้าหน้าที่ของบริษัททีโอที จำกัด กำลังติดตั้งดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งเป็นอินเตอร์เนทความเร็วสูงที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ. ลพบุรี

Monday, January 15, 2007

Students from Radiological Technology program, Faculty of Medical Technology, Mahidol University interview Khun Sivaporn Dardarananda, General-Secretery on January 15, 2007. The subject is about status of Thai Elephant.
นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคนิคการแพทย์ สาขารังสีเทคนิค เดินทางมาสัมภาษณ์รายละเอียดเกี่ยวกับช้างของมูลนิธิฯ กับคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อนำไปประกอบการ เรียน

Sunday, January 14, 2007

Electric Solar Panels & Electric Fence

Our Lopburi field staff have relocated the solar panels for charging batteries. Bottom photo also shows part of the electric fence which prevents wildlife from entering the camp. Top photo shows electric fence energizer and battery underneath thatched roof. เจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ จ.ลพบุรี ได้ติดตั้งแผงเซลแสงอาทิตย์เพื่อผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ ภาพล่างสุดแสดงให้เห็นส่วนของรั้วไฟฟ้าที่ทางมูลนิธิฯสร้างขึ้นเพื่อป้องกันสัตว์ป่าไม่ให้เข้ามาในแคมป์ ภาพบนใต้หลังคาเป็นภาพของเครื่องควบคุมรั้วไฟฟ้าและแบตเตอรี่

Wild Boar Reintroduction Project Success


The Wild Boar Reintroduction Project which we initiated last year shows great success. The above photo shows "Nang Oot, Nang Norm and Nang Aor" who are the third generation offprings of the wild boar we released. It is estimated that there are over 200 wild boar in Sublangka now.
ตามที่ทางมูลนิธิฯได้มีโครงการปล่อยหมูป่าสู่ธรรมชาติเมื่อปีที่แล้วในภาพแสดงให้เห็นว่าโครงการของเราประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยในรูปคือหมูป่ารุ่นที่สามที่ทางมูลนิธิฯนำมาปล่อยไว้ชื่อ นางโอ๊ต นางหนอมและนางอ้อ ซึ่งทางมูลนิธิฯได้ประมาณการไว้ว่าขณะนี้น่าจะมีหมูป่าอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาประมาณ 200 ตัว

Pa's Pond Project

Sand bags divert Lamsonthi creek water to Pa's Pond. Khun Chookiat explains to Parichat how to lay a pipe to prevent the inlet being filled up and stopping the water inflow. Top photo show present condition of Pa's Pond. We are looking forward to see the effectiveness of Pa's Pond during the dry season.
คุณชูเกียรติ กำลังแนะนำวิธีการเปลี่ยนทิศทางน้ำไปสู่สระปาให้คุณปาริชาติฟัง โดยการนำกระสอบทรายมากั้นไว้ รูปบนสุดแสดงให้เห็นถึงระดับน้ำของสระปาในปัจจุบันและทางมูลนิธิฯกำลังรอดูว่าผลจากการเก็บน้ำของสระปาจะเป็นอย่างไรบ้างในช่วงฤดูแล้ง

Hog Deer Reintroduction Project - Success

Our Hog Deer Reintroduction Project receives confirmation of its success today! Although we have known that most of the 20 Elds deer which we reintroduced last year in Sublangka Wildlife Sanctuary (Of the 23 Hog deer we obtained from Huay Sai Center, three had died from transportation stress or injuries) have survived, this is the first time that we have been able to visually confirm the sighting of a family of Hog deer. In the top photo, you can see the female deer, part of the baby deer and the male father deer. The sighting is at 2 PM and they are resting in the shadows of the trees.
ทางมูลนิธิฯได้ทราบข่าวว่าผลจากโครงการปล่อยเนื้อทรายในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าซับลังกาเมื่อปีที่แล้วที่ได้รับมาจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย 23 ตัวพบว่าประสบผลสำเร็จด้วยดี ถึงแม้ว่าขณะนี้จะมีเนื้อทรายเหลืออยู่เพียง 20 ตัว เนื่องจากมี 3 ตัวที่บาดเจ็บหรือตายเนื่องจากขั้นตอนการขนส่ง จากภาพจะพบว่ามีเนื้อทรายอยู่รวมกันเป็นครอบครัวมีตัวแม่ ลูก และพ่อกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้โดยภาพนี้ทางมูลนิธิฯได้ถ่ายไว้ตอนบ่าย 2

Elephant Dung- Reforestation Project Shows Progress

On the Elephant Dung -Reforestation Project plot we found that a number of plants had started to grow from the dung collected and deposited there by the foundaton's field staff last year. The test plot had been completely cleared of any vegetation and plants at the beginning of the project. Top and bottom photos show plants that are not normally native to this area of the Sublangka forest. We are hoping to show how important the elephants are for the forest.
ผลจากการทดลองโครงการช้างปลูกป่าที่ทางเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯได้จัดทำขึ้นเมื่อปีที่แล้ว พบว่ามีพันธุ์ไม้นานาชนิดเกิดขึ้นจากมูลช้าง โดยการทดลองในแปลงเพาะปลูก ส่วนภาพด้านบนและด้านล่างแสดงให้เห็นว่าต้นไม้ที่เกิดจากมูลช้างนั้นมิใช่ต้นไม้ที่มีในเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าซับลังกา มูลนิธิฯหวังจะให้เห็นว่าช้างมีความสำคัญต่อป่าเพียงไร

Saturday, January 13, 2007

Khun Sivaporn Secretary-General was cutting ribbon for opening a New Year party, 2007 at Sublangka Wildlife Sanctuary, Lopburi.

คุณศิวะพร เลขาธิการมูลนิธิฯ กำลังตัดริบบิ้นและกล่าวเปิดงานฉลองปีใหม่ให้กับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯที่เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี

Friday, January 12, 2007

The Foundation hires local villagers with grading equipment to regrade the 20 kilometer road thru Sublangka Wildlife Sanctuary for total cost of Baht 33,000. The road was made impassable during the last rainy season.

มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติอนุมัติงบประมาณจำนวน 33,000 บาท ในการซ่อมแซมถนน (เส้นทางลำลอง) เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานดูแลความเคลื่อนไหวของช้างในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี

Pang Malee arrives at our Lampang Camp.

พังมาลีเดินทางมาถึงแคมป์ของมูลนิธิฯ ที่จ.ลำปางแล้ว

Tuesday, January 09, 2007

Bangkok Bank Public Company Limited donates Baht one million to the Elephant Reintroduction Foundation. Dr. Sumet Tantivejkul, Chairman of Foundation, receives cheque from Mr.Piti Sithi-amnuey ,Executive Chairman and Mr. Singh Tangtatswas, Managing Director.

คุณปิติ สิทธิอำนวย ตำแหน่ง กรรมการบริหาร และคุณสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ กรรมการผู้อำนวยการธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มอบเงินบริจาคจำนวน 1 ล้านบาท เพื่อเข้าร่วมโครงการ "คืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา" โดยมีดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบ

Monday, January 08, 2007

Makok Pah( Hog Plum) for the Hog Deer

On Saturday we went to retrieve 2 sacks of Makok Pah( Hog Plum) fruits and 3 sacks of Dried Makok Pah seeds from the Wildlife Propagation Center in Huay Sai, Hua Hin and had them delivered to the Sublangka Wildlife Sanctuary. On Sunday Parichat and our field staff laid some of the makok pah fruits in the wooded section near the helicopter pad area. Within ten minutes, Parichat reported seeing at least 4 Hog deer come out to eat the fruits. She said that now they are very cautious and shy, and will flee into the forest at any sound or movement by human beings. As we suspected when we went to relocate the Hog deer from Huay Sai last year, we saw a large number of makok pah trees in the Center and determined that a lot of them must have been grown by the deer. Therefore we hope that the Hog deer in Sublangka Wildlife Sanctuary will eat the makok pah fruit and grow them there too. The total cost for the experiment was over Baht 8,000 for gas and labor, including a donation to Baht 2,000 to the Huay Sai Center. We think it is well worth it, if the makok trees start to grow in Sublangka.
เมื่อวันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2550 ทางมูลนิธิฯ ได้รับผลมะกอกป่าสดจำนวน 2 กระสอบและเมล็ดมะกอกป่าตากแห้งจำนวน 3 กระสอบ จากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย, หัวหิน ไปส่งที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา และในวันอาทิตย์ คุณปาริชาติ จันทร์ครุฑ เจ้าหน้าที่ประสานงานประจำสำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี และเจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ ได้นำผลมะกอกป่าที่ได้มาไปหว่านไว้ในบริเวณใกล้ๆกับลานจอดเฮลิคอปเตอร์ พร้อมทั้งเฝ้าสังเกตุการณ์อยู่ประมาณ 10 นาที พบว่ามีเนื้อทรายจำนวน 4 ตัว ออกมากินผลมะกอกป่า จากการสังเกตุพฤติกรรมของเนื้อทรายพบว่าปัจจุบันนี้เนื้อทรายค่อนข้างจะระมัดระวังตัวต่อคนแปลกหน้าและสิ่งแวดล้อมรอบด้านมากขึ้น ทำให้ยากแก่การเข้าถึง โดยเมื่อปีที่ผ่านมาทางมูลนิธิฯได้เข้าไปที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทราย และพบว่ามีต้นมะกอกป่าจำนวนมากที่ขยายพันธุ์โดยเนื้อทราย ดังนั้นทางมูลนิธิฯจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อทรายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จะเป็นตัวที่ช่วยขยายพันธุ์ผลมะกอกป่าให้เจริญเติบโตได้ดีอย่างที่สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทรายเช่นกัน โดยในครั้งนี้ได้มีค่าใช้จ่ายในการขนมะกอกป่าประมาณ 6,000 บาท อีกทั้งทางมูลนิธิฯ ได้บริจาคเงินให้กับทางสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยทรายเป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน) ซึ่งทางมูลนิธิฯเล็งเห็นว่าเป็นการคุ้มค่าหากว่าผลมะกอกป่าจะสามารถเจริญเติบโตได้เองตามธรรมชาติในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี

Pang Sunee is quite big!

พังสุนีย์

Pang Leelas

พังลีลาศ

Monday, January 01, 2007

Khun Suthas Ruangmanamongkol presents his cheque donation for the release of an elephant to Khun Sivaporn Dardarananda, Sec-Gen. of the Elephant Reintroduction Foundation. คุณสุทัศน์ เรืองมานะมงคล มอบเช็คเงินสดให้กับมูลนิธิคืนช้างฯโดยมีคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบ