Website

Monday, November 30, 2009

Happy Baby Elephant

Pang Daungdao has 2 adoptive mothers, they are Pang Namchoke and Pang Tukkata. พังตุ๊กตา และพังนำโชค มาเป็นแม่รับให้กับพังดวงดาวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Pang Nimnuan, our elephant at Phu Phan Forest. พังนิ่มนวลในป่าภูพาน

Our field staffs at Phu Phan Substation are building sufficiency electric fence at Pha Phan National Park. หลังจากที่พังบัวทองเข้าไปในพื้นที่ป่าแล้ว เจ้าหน้าที่ภาคสนามและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูพานได้ช่วยกันทำรั้วไฟฟ้าแบบพอเพียงเพื่อป้องกันไม่ให้ช้างออกนอกพื้นที่ป่าภูพานอีก

Pang Bua Keaw(left) and Pang Bua Ngern(right) wait for Pang Bua Tong being fetched back from the edge of the forest by our field staff. พังบัวแก้วและพังบัวเงินมายืนรอพังบัวทองที่เจ้าหน้าที่ภาคสนามพากลับเข้าป่า

Our Field staff fetch elephant(Pang Bua Thong) back from the edge of the forest to rejoin her friends in the group.

เนื่องจากพังบัวทองได้ออกนอกพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติภูพาน เจ้าหน้าที่ภาคสนามจึงได้นำพังบัวทองกลับเข้าพื้นที่ป่าเพื่อรวมกับกลุ่มช้างต่อไป

Mor Taweepoke Angkawanich our consulting veterinarian comes to The Foundation at Doi Pha Muang to check up new elephant (Pang Daungdao) with Ms. Illona Bolening, student from Faculty of Veterinary Science, Utretch University, Netherlands. นายสัตวแพทย์ทวีโภค อังควานิช นายสัตวแพทย์ที่ปรึกษามูลนิธิฯ เข้าไปตรวจสุขภาพพังดวงดาว ช้างตัวใหม่ที่ทางมูลนิธิฯ รับเข้าโครงการ โดยมี Ms. Illona Bokening นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ ปี 5 จากมหาวิทยาลัย Utretch ประเทศเนเธอร์แลนด์ เข้ามาศึกษาดูงานด้วย

Thursday, November 26, 2009

Siamese fireback pheasant in Sublangka Forest.

ไก่ฟ้าพญาลอในป่าซับลังกา

Plai Chalad, our young bull elephant in Sublangka Wildlife Sanctuary. พลายฉลาด
Our young elephant: Pang Narak is eating food in Sublangka Wildlife Sanctuary. พังน่ารักกำลังกินอาหารในป่าซับลังกา

Plai Srisakorn enjoys his food.

พลายศรีสาครกำลังมีความสุขกับการกินอาหารในป่าซับลังกา

our elephant in Sublangka Wildlife Sanctuary, Lopburi. พังประหยัด(พังดอกขาว)
Pang Boonmee and Pang Dork kaow, our 2 elephants in Sublangka Wildlife Sanctuary. พังบุญมีและพังดอกขาวในป่าซับลังกา
Elephant Reintroduction Foundation has hold exhibition with faculty of veterinary science about the elephant in Science Academic 5th , Chiang Mai University, on November 26, 2009
มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดนิทรรศการเกี่ยวกับช้าง ในงานวันวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 5 “วิถีวิจัย : ทศวรรษที่ 5 สู่ความเป็นเลิศ”

Wednesday, November 25, 2009

The Foundation has installed solar cell panel at Keang Mod Deang, Phuphan National Park, Sakon Nakorn for providing electricity to use in the field. มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติได้นำแผงโซลาเซลล์ ติดตั้ง ณ หน่วยพิทักษ์ป่าแก่งมดแดง อุทยานแห่งชาติภูพาน จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นแหล่งให้พลังงานไฟฟ้าเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูพาน

Pang Duangdao goes for a walk in the creek at Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary. พังดวงดาวเดินเล่นอยู่บริเวณลำห้วยแม่ป๋อน

Monday, November 23, 2009

มูลนิธิฯ ร่วมประชุมกับ กทม.

Pol.Maj.Gen. Chookiat Prathipasen, Vice Secretary General of Foundation attend to the meeting
and announcement Ceremony 'Take My Friends, Elephants Back Home" Concert by Dionne Warwick to contribute to "Elephant Smile Project" arranged by Bangkok Metropolitan Administration on November 23, 2009.
พล.ต.ต.ชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ร่วมประชุมการกำหนดแนวทางความร่วมมือ และระดมพลังแก้ปัญหาช้างเร่ร่อนอย่างยั่งยืน และร่วมงานแถลงข่าวการจัดคอนเสริตการกุศล ดิออน วอร์วิค เพื่อนำรายได้ช่วยโครงการช้างยิ้ม ซึ่งจัดโดยกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2552 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

Wednesday, November 18, 2009

Our new elephant (Pang Duangdao) is taking a nap under the tree after she had some food. She is a happy elephant in Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary, Lampang.

หลังจากที่ พังดวงดาว กินอาหารอิ่มแล้วก็ถึงเวลานอน

Mae Yao Creek

Our field staff take pictures of Mae Yao Creek while they are tracking elephants in the forest. Mae Yao Creek flows into Mae Yao Reservoir which level of water in the creek becomes lower in this season.
ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้เดินทางเข้าป่าเพื่อติดตามช้าง เจ้าหน้าที่ของเราได้เก็บภาพต้นน้ำของลำห้วยแม่ยาว ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง
จากต้นน้ำของลำห้วยแม่ยาว ได้ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำแม่ยาว ซึ่งจากภาพขณะนี้น้ำในลำห้วยได้แห้งลงไปมาก

After tracking elephants our field staff found Pang Pansa, Pang Phetchara, and Plai Boriboon at Huihok Creek. Not far from this group our field staff found Pang Sarah and Pang Sunee too. พังพรรษา พังเพชรา และพลายบริบูรณ์ บริเวณลำห้วยหก โดยมีพังซาร่า และพังสุนีย์ หากินอยู่ใกล้ๆ

Trail of elephants came to have some banana trees was found in deep forest at Lamhuihok (Huihok Creek), Doi Pha Maung Wildlife Sanctuary, Lampang.

ร่องรอยการกินต้นกล้วยป่าของช้างที่เจ้าหน้าที่เดินทางเข้าไปติดตามช้างในป่า ซึ่งต้นกล้วยป่าเป็นอาหารช้างที่มีอยู่มากบริเวณลำห้วยหก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง

Tuesday, November 17, 2009

Khun Apiramon Ourairat, centre, Chief Administrative Officer & School Manager and her staffs visit Elephant Reintroduction Foundation to consult with Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary General of The Foundation and Pol.Maj.Gen. Chookiat Prathipasen, Vice Secretary General of The Foundation about "Satit Rangist releases elephants back into the wild Project" at Elephant Reintroduction Foundation Office, Hua Seng Hang2 Building, Yaowaraj Road, Bangkok on November 10, 2009.
คุณอภิรมณ อุไรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้จัดการโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต (คนกลาง) เข้าพบคุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิฯ และ พล.ต.ต.ชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิฯ เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับ "โครงการสาธิตรังสิตคืนช้างสู่ธรรมชาติ" เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ชั้น 7 อาคารฮั่วเซ่งเฮง เยาวราช กทม.

Monday, November 16, 2009

Khun Orapin Supakavat, Vice President of Pacific Park Shopping Center & Hotel donates 40,000 baht to Pol.Maj.Gen. Chookiat Prathipasen, Vice Secretary General of Foundation to join Elephant Back into the Wild Project at Pacific Park Shopping Center Office, Sriracha District, Chonburi Province on November 16, 2009.
คุณอรพิน สุภาควัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์การค้าแปซิฟิคพาร์ค มอบเงินเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ จำนวน 40,000 บาท โดยมี พล.ต.ต.ชูเกียรติ ประทีปะเสน รองเลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานศูนย์การค้าแปซิฟิค ชั้น 5 อาคารชุดศรีราชาเพลส ศรีราชา ชลบุรี

Saturday, November 14, 2009

Pang Boonmee, our young elephant at Sublangka Wildlife Sanctuary. พังบุญมี

Friday, November 13, 2009

Khun Masahiko shimisu, President of Thai Meiji Phamaceutical Co., Ltd. present a cheque of 60,000 baht " to Khun Sivaporn Dardarananda, Secretary-General of The Foundation to donate to join "Elephant Back To The Wild Project" at Elephant Reintroduction Foundation (Head Office), on November 13, 2009.
คุณมาซาฮิโกะ ชิมิซึ ประธานกรรมการบริษัท ไทยเมจิฟาร์มาซิวติคัล จำกัด มอบเงินสนับสนุนโครงการคืนช้างสู่ป่า จำนวน 60,000 บาท โดยมี คุณศิวะพร ทรรทรานนท์ เลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2552 ณ สำนักงานมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ชั้น 7 อาคารฮั่วเซ่งเฮง 2 ถนนเยาวราช แขวง/เขตสัมพันธวงศ์ กทม.

Wednesday, November 11, 2009

Pang Daungdao-พังดวงดาว

The Elephant Reintroduction Foundation has bought a 2.3 years female elephant, Pang Duong daow, from Surin Province to join our project at Doi Pha Muang Wildlife Sanctuary,Lampang Province. Formerly she was a wanderer elephant in Nakornsawan Province.

พังดวงดาว อายุ 2 ปี 3 เดือน เป็นช้างที่มาจาก อ.ท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ แล้วมาทำงานเป็นช้างเดินเร่ร่อนอยู่จังหวัดนครสวรรค์ ทางมูลนิธิฯ จึงรับเข้าสู่โครงการเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติต่อไป

Pang Huadee

Our female elephant in Sublangka Forest. พังหัวดีในป่าซับลังกา

Pang Lampang

An elephant in Sublangka Wildlife Sanctuary, Lopburi. พังลำปางในป่าซับลังกา
Our elephant in Sublangka Wildlife Sanctuary, Pang Duh is eating her food with happiness. พังดุกำลังกินอาหารอย่างมีความสุขในป่าซับลังกา

Tuesday, November 10, 2009

Mor Kwan's Elephant Clinic: Soil & The Gusto Food for Elephant

Soil: The Gusto Food for Elephant
Soil is not necessary only for plants which are major food for elephants, the biggest land animal, but it’s also nutrient rich diet for the elephants in the wilderness. However, there are many questions occurring that why the elephants perform the behavior of soil consumption.
Soil called “salt lick” or “mineral lick” which occurs naturally is an important resource composing of abundant minerals and trace elements such as sodium, potassium, calcium, manganese, copper, and zinc. The elephants often visit salt lick that contains the mineral they need when the elephants do not get enough minerals from plants and water supplies, consequently utilization mineral lick relates to the mineral requirements and is essential for the mineral supplementation including preventing the mineral deficiency. Several factors, e.g., geography, ecology, and season, influence the difference of mineral ingredients and concentrations in each salt lick location. For instance, in tropical areas with high rainfall, some elements are easily leached away. The elephant responses to salt lick such as frequency of visitation, time spent licking per visit, and proportion of time spent licking, also vary with both internal and external factors. Female elephants reported in a case of pregnancy and lactation, which probably need more nutritional requirement than males, consumed more soil at salt lick and spent greater time feeding on soil than males. Moreover, some scientists attempted research into other reasons why the elephants visit salt lick and found various soil benefits to aid digestion , for example, buffering gastrointestinal fluids, avoiding diarrhea, and providing protection against toxic plant secondary compounds, including being social gathering place for the elephants and other wildlife.
A case of Pang Thongbai and Pang Boonmeenan, the elephants in reintroduction program, is the foundation case study interested regarding salt lick. They have visited salt lick in the same place for the period between September and October for three years, also nobody know what their reason. Therefore, it is challenge to investigate for explanation this doubt.
ดิน : อาหารอันโอชาสำหรับช้าง "ดิน" มิได้มีความจำเป็นต่อพืชซึ่งเป็นอาหารหลักสำหรับอาหารช้างเท่านั้น แต่ดินยังเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุต่างๆที่สำคัญสำหรับช้างอีกด้วย ด้วยเหตุนี้จึงมักมีคำถามเกิดขึ้นว่า เหตุใดช้างจึงแสดงพฤติกรรมการบริโภคหรือกินดินเหล่านี้
ดินที่พูดถึงข้างต้นนี้เรียกว่า "ดินโป่ง" ซึ่งคือดินตามธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆมากมาย อาทิเช่น โซเดียม โปรแตสเซียม แคลเซียม แมนกานีส ทองแดง และสังกะสี เป็นต้น ช้างจะกินดินโป่งเมื่อรู้สึกว่า ตัวเองได้รับแร่ธาตุต่างๆไม่เพียงพอจากพืชและน้ำที่ช้างกินอยู่ตามปกติ ด้วยเหตุนี้การใช้ประโยชน์จากดินโป่งของช้างจึงขึ้นอยู่กับความต้องการสารอาหารหรือแร่ธาตุของร่างกายช้างในขณะนั้น ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องที่สำคัญในการเติมเต็มแร่ธาตุที่ต้องการ หรือป้องกันภาวะการขาดแคลนแร่ธาตุสำหรับช้าง
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ดินโป่งในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ระบบนิเวศวิทยา และช่วงฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ในเขตร้อนชื้นและมีฝนตกชุกมีโอกาสที่แร่ธาตุต่างๆในดินถูกพัดพาหรือชะล้างออกไปได้ง่าย นอกจากนี้การตอบสนองต่อดินโป่งของช้างแต่ละตัว เช่น ความถี่ในการกินดินโป่ง ปริมาณและระยะเวลาในการกินดินโป่งแต่ละครั้ง ก็มีความแตกต่างกันเนื่องจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกตัวช้าง จากการวิจัยพบว่า ช้างตัวเมียที่ตั้งท้องหรือมีการให้น้ำนมมีความต้องการแร่ธาตุหรือสารอาหารต่างๆมากกว่าช้างตัวผู้ จึงส่งผลให้ปริมาณและระยะเวลาในการกินดินโป่งช้างตัวเมียสูงกว่าช้างตัวผู้ อย่างไรตามมีการวิจัยอื่นๆที่พบว่า ดินโป่งนั้นยังมีประโยชน์มากมายต่อระบบการย่อยของช้าง เช่น การช่วยลดกรดในกระเพาะ ช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย หรือช่วยลดสารพิษบางอย่างที่มีอยู่ในพืชบางชนิด เป็นต้น รวมถึงโป่งดินยังเป็นแหล่งพบปะชุมนุมของช้างและสัตว์ป่าอื่นอีกด้วย
จากการดำเนินงานของมูลนิธิฯ พบกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เพราะเหตุใด ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม ของทุกปี ช้างเพศเมีย 2 ตัว (พังทองใบ และพังบุญมีน่าน) ซึ่งเป็นช้างในโครงการคืนช้างสู่ป่า ที่มูลนิธิฯ ดูแลอยู่ จึงมักออกนอกพื้นที่เพื่อไปกินดินโป่ง ณ จุดเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อสงสัยนี้เป็นสิ่งที่ท้าทาย จำเป็นต้องเฝ้าติดตามและค้นหาคำตอบที่ชวนสงสัยนี้ให้ได้ต่อไป

Monday, November 09, 2009

Our 2 elephants : Pang Thongbai and Pang Boonmeenan go out of the forest to the rice field near Camp3, Lampang. The Foundation fetch them back to the forest and paid for it to the villager. พังทองใบและพังบุญมีน่าน ได้ออกนอกพื้นที่มาบริเวณบ่อดินดำ ใกล้ๆ กับแคมป์ 3 โดยพังทองใบและพังบุญมีน่าน ได้เข้าไปทำความเสียหายให้กับชาวบ้านบริเวณพื้นที่รอบๆ ดอยผาเมือง โดยทางมูลนิธิฯ ได้ตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว