Website

Sunday, September 30, 2007

Bushnell Trail Sentry Cameras

Our field staff at Sublangka Wildlife Sanctuary are installing a couple of Bushnell Trail Sentry digital cameras to study elephant and wildlife behavior. เจ้าหน้าที่ภาคสนามกำลังติดตั้งกล้อง Bushnell เพื่อติดตามพฤติกรรมของช้างและสัตว์อื่น ๆ

Friday, September 28, 2007

Pang Thongkham's Tail

Khun Parichart Jankrut, Our coordinator at Lopburi is showing Pang Thongkham's tail which pickled in a glass jar.

คุณปาริชาติ เจ้าหน้าที่ลพบุรีกำลังโชว์ขวดโหลที่ได้ทำการดองหางพังทองคำซึ่งถูกพังลำปางกัด

Elephant Reintroduction Board Meeting

Board of Directors of the Elephant Reintroduction Foundation get a group photo at Plaza Athenee on September 27, 2007. (From left to right: Khun Bundit Saowan, M.L. Pipatchat Diskul ,Khun Sahus Boonyaviwath, Khun Sivaporn Dardaranandar, Dr.sumet Tantivejkul, Khunying Wanna Sirivadhanabhakdi, M.R. Jiyakorn Sesavej, Khun Kaweepong Hirunkasi and Khun Pichai Chanvirachart)

คณะกรรมการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติถ่ายภาพร่วมกันในวันประชุมคณะกรรมการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติครั้งที่ 2/2550 วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2550 ณ ห้องแอทธิเนียม 1 โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน

Wednesday, September 26, 2007

There are 16 students from Rajbumrung School and 29 students from Ban Koodtaphet School join with "Teching children to love Sublangka Forest Project". The project has arranged by Elephant Reintroduction Foundation and Sublangka Wildlife Sanctuary. มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติร่วมกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จัดกิจกรรมค่ายเยาวชนศึกษาธรรมชาติ "โครงการสอนน้องรักป่าซับลังกา" ระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2550 เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ได้แก่นักเรียนจากโรงเรียนบ้านราษฎร์บำรุง จำนวน 16 คน และนักเรียนจากโรงเรียนบ้านกุดตาเพชร จำนวน 29 คน ซึ่งในการเข้าค่ายเยาวชนครั้งนี้ นักเรียนจะได้ศึกษาจากของจริงจากธรรมชาติ นอกเหนือจากทฤษฎีในหนังสือเรียน

Friday, September 21, 2007

ICC International Public Co., Ltd. Sponsors Elephant Release






Khun Somphol Chaisiriroj, Director of Arrow and his staff behalf of I.C.C. released “Pang Nimnuan”, the first elephant that I.C.C. to be sponser back into the wild and invited Dr.Sumet Tantivejkul to preside this ceremony on September 20, 2007. ARROW is the brand established by the Cluett Peadody Company of Troy, New York for its line of shirt collars and shirts. The name "Arrow" was derived from the Mohawk Indian tribe that formerly occupied upstate New York and used bows and arrows as their primary weapon.
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เป็นประธานพิธีปล่อยช้างถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามโครงการ "คืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา" ที่ทาง ผลิตภัณฑ์ ARROW บริษัท ไอ ซี ซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนการจัดหาช้างจำนวน 8 ตัว โดยมีคุณสมพล ชัยศิริโรจน์ ผู้อำนวยการผลิตภัณฑ์แอร์โรว์ และเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เข้าร่วมปล่อยช้างชื่อ "พังนิ่มนวล" ช้างตัวที่ 1 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2550

Wednesday, September 19, 2007

Our field staff pre-released Plai Somnuk nearby camp 1. เจ้าหน้าที่ทดลองปล่อยพลายสมนึกซึ่งให้หาอาหารกินเองอยู่บริเวณแคมป์ 1 ดูพลายสมนึกอ้วนท้วนสมบูรณ์กว่าเดิมมาก

Custodians of Doi Phamuang Wildlife Sanctuary

Our field staff track elephants in Doiphamuang Wildlife Sanctuary and found Pang Thongbai and Pang Boonmee (nan)On September 13, 2007. Both of them are healthy. จากการเข้าไปติดตามช้างในป่าในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดปาง เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 เจ้าหน้าที่ภาคสนามของเราได้พบกับพังทองใบ และพังบุญมีน่าน ช้างทั้งสองตัวมีรูปร่างอ้วนท้วน และมีสุขภาพสมบูรณ์

Tuesday, September 18, 2007

I.C.C International Public Company Limited, ARROW Shirt licensee, is going to donate eight elephants from the income from sale of Elephant Logo Polo shirts to support the "Elephant Back to The Wild Project", one of the Thai Nation's Celebrations on the Auspicious Occasion of His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary on 5th December 2007.
รูปแบบเสื้อที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ ARROW บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนลจัดจำหน่าย โดยรายได้ส่วนหนึ่งนำเข้าสมทบทุนเพื่อการจัดซื้อช้างจำนวน 8 เชือกร่วมกับโครงการคืนช้างสู่ป่าเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

Monday, September 17, 2007

Tamarind (Tamarindus indica) Grows from Elephant Dung

Above pictures show that the tamarind seedling which passed the elephant's digestive system and is starting to grow as part of the elephant's seed dispersal program. Tamarindus indica L. is a tropical fruit tree which grows in dry/monsoonal climates. The fruits are usually between 5 and 14 cm in length and approximately 2 cm wide. The tree averages 20-25 m in height and 1 m in diameter, it has a wide spreading crown and a short, stout trunk. It is slow growing, but long lived, with an average life span of 80-200 years. Tamarind is a sustainable resource with positive environmental benefits. The tree provides perennial cover thus protecting the soil and aiding in the storage and recycling of plant nutrients and organic matter. It is most well known for its fruits which have a low water content and one of the highest levels of protein and carbohydrate of any fruit. The pulp is high in potassium, phosphorus and calcium, it also contains iron and a good source of the vitamins thiamin and niacin. The leaves contain vitamin C and beta carotene and the seed protein has a highly favorable amino acid content. Elephants and wildlife love to eat the tamarind fruit. รูปภาพข้างบนแสดงให้เห็นเม็ดมะขามที่ผ่านระบบย่อยของช้างและกำลังเริ่มเจริญเติบโต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งตามโปรแกรมการขยายพันธุ์เมล็ดพืชของช้าง มะขามเป็นพันธุ์ไม้ที่เติบโตได้ทั่งในสภาพอากาศแห้งและชื้น โดยทั่ว ไปฝักของมะขามยาวประมาณ 5-14 ซม.และกว้าง 2 ซม. ต้นมะขามมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตรและความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 20-25 เมตร มีอายุเฉลี่ย 80-200 ปี เป็นต้นไม้ที่เหมาะกับทุกสภาพอากาศ มะขามเป็นผลไม้ที่ให้คุณค่าสูงทางโปรตัสเซียม ฟอสฟอรัสและแคลเซียม อีกทั้งยังมีแร่ธาตุอื่นประกอบด้วยเช่น ธาตุเหล็กและวิตามินต่างๆ ใบมะขามจะประกอบไปด้วยวิตะมินซี และเบต้าคาโรทีน รวมถึงเม็ดมะขามที่มีโปรตีนสูงซึ่งประกอบไปด้วยกรดอะมิโน จากคุณค่าต่างๆ เหล่านี้ทำให้ช้างและสัตว์ป่าอื่นชอบกินมะขาม เพราะนอกเหนือจากเป็นอาหารแล้ว มะขามยังทำหน้าที่เป็นสมุนไพรได้อีกด้วย

Hog Deer- cervus porcinus

Our field staff spies a young hog deer (Male) near camp 1. It is believed to be the offspring of the Hog Deer reintroduced to Sublangka Wildlife Sanctuary in 2006. The hog deer gets its name from the hog-like manner in which it runs through the forests with its head hung low so that it can duck under obstacles instead of leaping over them like most other deer. When alarmed, hog deer make a whistling vocalization or a warning bark. Home ranges vary widely in size, but average about 0.70 km². Harems are not created, with males courting and defending a single female at any given time. เจ้าหน้าที่ภาคสนามของมูลนิธิฯ พบเนื้อทรายเพศผู้ บริเวณด้านหลังแคมป์ 1 ซึ่งเชื่อว่า เนื้อทรายตัวนี้น่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากโครงการปล่อยเนื้อทรายคืนสู่ธรรมชาติที่มูลนิธิฯ ได้ปล่อยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาเมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ.2549)



Thai Deputy Prime Minister Paiboon Wattanasiritham visits our booth in the National Program: "Do Good for Father" on September 16,2007.
คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีเยี่ยมชมซุ้มมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ ที่จัดขึ้นในงาน "โครงการทำดีเพื่อพ่อ"เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550

Sunday, September 16, 2007

Golden Jackal - Canis Aureus or Asiatic Jackal

Our field staff photographed a golden jackal or Asiatic jackal (Canis aureus) at Km. 2 in Sublangka Wildlife Sanctuary . The golden jackal is generally 70-105 centimeters (28-42 inches) in length, with a tail length of about 25 centimetres (10 inches). It's standing height is approximately 38-50 cm (16-20 inches) at the shoulder. Average weight is 7-15 kilograms(15-33 pounds) with males tending to be 15% heavier than the females. Jackals are a strictly monogamous species. They are very capable hunters of small to medium sized prey such as rabbits, rodents, birds, insects, fish and monkeys. พบสุนัขจิ้งจอก 1 ตัวเดินอยู่บนถนนกิโลเมตรที่ 2 ตามเส้นทางป่าซับลังกา
Pang Yai (พังใหญ่)
Group of off-road visit Sublangka Wildlife Sanctuary on September 15, 2007 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2550 ได้มีคณะชาวออฟโรดจำนวน 10 คัน เข้ามาบริจาคสิ่งของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์บำรุงและได้เข้า มาชมธรรมชาติต่อที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา
Plai Chalard and Pang Huadee พลายฉลาดและพังหัวดี
Plai Suthas and Pang Lampang พลายสุทัศน์และพังลำปาง

Tuesday, September 11, 2007

Plai Somrak is eating salt lick
พลายสมรักษ์มากินโป่งเทียมที่เจ้าหน้าที่ทำไว้ให้
Khun Chonsaporn Apiwongngam, our coordinator pose with Khun Pajon Jomthun, Head of Doiphamuang Wildlife Sanctuary(At stand : second from left to right) and his staff.
หลังจากที่ได้เข้าพบเพื่อยื่นหนังสือแจ้งถึงวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ ให้กับทางหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง คือคุณผจญ จอมทัน (แถวยืนคนที่สอง นับจากซ้ายไปขวา) แล้วคุณชลษพร ยังได้ถ่ายรูปร่วมกับทางหัวหน้าเขตฯ และเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าไม้ประจำเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง

Monday, September 10, 2007

Check Dams are Built at Sublangka Wildlife Sanctuary

เจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ 1 (ปราจีนบุรี) ได้เข้ามาทำฝายแม้วตามลำน้ำสาขาในพื้นที่ป่าซับลังกา เพื่อช่วยเพิ่มความชุมชื้นให้พื้นที่ป่า

Sunday, September 09, 2007

Khun Sivaporn Dardaranandar, General Secretary of the foundation present 15,000 Baht to sponser " Teach child to love forest Project" of Sublankga Wildlife Sanctuary. คุณศิวะพร ทรรทรานนท์ (เลขาธิการมูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ) มอบเงินสนับสนุนโครงการสอนน้องรักป่า ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาจำนวน 15,000 บาท โดยมีคุณประพันธ์ หีบจันทร์กรี เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาเป็นตัวแทนรับมอบ เพื่อนำไปดำเนินการจัดค่ายเรียนรู้ธรรมชาติให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์บำรุงและ โรงเรียนบ้านกุดตาเพชร จำนวน 60 คน ในระหว่างวันที่ 25-27 กันยายน 2550 เพื่อให้นักเรียนได้เห็นและสัมผัสธรรมชาติที่แท้จริง ไม่ใช่เป็นเพียงการเรียนเพียงทฤษฎีในหนังสือเท่านั้น

Hog badger - Arctonyx collaris Released at Sublangka Wildlife Sanctuary

The hog badger-Arctonyx collaris or หมูหริ่ง, in Thai, is preyed upon by tigers and leopards. However, they have a good defense system with their large claws and teeth, thick loose skin, and tenacity. Habitat loss is likely to have an impact on this species. Little is known about this species and human impact on them. Numbers are not known, and they may very well be near extinction in Thailand. The hog badger is now on the IUCN Red List of Threatened Species. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาได้นำหมูหริ่ง (สัตว์ที่ส่วนผสมระหว่างหมูและสุนัข เป็นสัตว์ที่มีจมูกที่ไวต่อกลิ่นมากและมีกลิ่นตัวที่แรงมาก) จำนวน 1 ตัวที่ได้รับจากชาวบ้าน จ.ชัยภูมิ มาปล่อยที่บริเวณริมลำสนธิในช่วงกิโลเมตรที่ 8-9 เพื่อเพิ่มความหลากหลายของสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าซับลังกา

Friday, September 07, 2007

Our new elephant, Pang Saitaa arrives at our camp in Lampang on September 7, 2007. The elephant comes from Phetchaboon. เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2550 มูลนิธิฯ ได้รับช้างเชือกใหม่ชื่อ พังสายตา มาจาก อ.หล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อเข้าร่วมโครงการฯ ของมูลนิธิฯ
เจ้าหน้าที่ภาคสนาม (ลำปาง) กำลังช่วยกันทำโป่งเทียม ใกล้ๆบริเวณที่ช้างอยู่ทั้งแคมป์ 1 และแคมป์ 2 ไว้ให้ช้างกิน

Thursday, September 06, 2007

Pang Yai and Pang Jarunee พังใหญ่และพังจารุณี